ภาพรวม
เจ. พี. มอร์แกน รู้สึกว่าเว็บไซต์สำหรับซื้อขาย derivative warrant (DW) หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ของพวกเขานั้นดูรกและใช้งานเมนูต่างๆ ยาก ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถทำรายการจนสำเร็จได้ หรือไม่รู้ว่าบริษัทฯ มีข้อเสนออะไรบ้าง และอาจทำให้ผู้ใช้บางรายหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งแทน
แนวทางของเรา
เราพิจารณาความต้องการของทั้งเทรดเดอร์หน้าใหม่และเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ซื้อขาย DW มาก่อนจากการค้นคว้าและการทดสอบการใช้งานบนเว็บไซต์ที่เป็นร่างแรกของเรา หลังจากศึกษาผลตอบรับแล้ว จึงทำการปรับดีไซน์และขั้นตอนการซื้อขายให้เข้าใจง่ายมากขึ้น และด้วยข้อมูลอันมีค่าจากผู้เข้าร่วมการทดสอบดังกล่าวทำให้ในท้ายที่สุดทีมของเราสามารถสร้างเว็บไซต์ระดับท็อปที่เหมาะกับเทรดเดอร์ทุกระดับความเชี่ยวชาญ
กำหนดมาตรฐานในการใช้งาน
เรากำหนดมาตรฐานในการใช้งานเพื่อตัดสินใจว่าดีไซน์แบบไหนที่ประสบความสำเร็จและเหมาะกับผู้ใช้ทุกคน
Streamlined user flows ทำให้ขั้นตอนการใช้เข้าใจง่ายขึ้น
ลดความรกของแอปลงและทำให้ขั้นตอนการใช้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อ UX ที่ดีกว่าเดิม
แบบร่างที่ผ่านการทดสอบจากผู้ใช้
เราออกแบบและทดสอบแบบร่างจำนวนมากเพื่อให้มั่นใจว่าตอนเปิดใช้งานจะประสบความสำเร็จ
กระบวนการทำงาน
รู้สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ → ทดสอบการใช้งาน → รวบรวมผลตอบรับ → ปรับดีไซน์
ระหว่างที่เราอยู่ในเฟสของการค้นคว้าข้อมูล เป้าหมายของเราคือต้องรู้ให้ได้ว่าสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องการจากแพลตฟอร์มซื้อขาย DW ของ เจ. พี. มอร์แกน คืออะไร พวกเขาใช้งานเมนูต่างๆ อย่างไร ได้รับประสบการณ์แบบไหน และมีความเชี่ยวชาญอย่างไรบ้าง
ด้วยเหตุที่การซื้อขาย DW นั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง ทีมค้นคว้าของมอร์โฟซิสจึงตัดสินใจเชิญเทรดเดอร์ที่มีความเชี่ยวชาญต่างกันมาเข้าร่วมการค้นคว้าครั้งนี้ เราคัดเลือกผู้เข้าร่วมมา 5 คนเพื่อให้เราได้เห็นภาพว่าผู้ใช้ที่หลากหลายใช้งานเว็บไซต์ต่างกันอย่างไร
สรุปว่ากระบวนการของเราก็คือ เราหาว่าผู้ใช้ต้องการอะไรจริงๆ จากการค้นคว้า จากนั้นทำการทดสอบการใช้งานซื้อขาย DW บนแบบร่างเว็บไซต์โดยเทรดเดอร์ รวบรวมข้อมูลที่ได้จากผลตอบรับ แล้วนำข้อมูลมาปรับดีไซน์
การค้นคว้า กระบวนการทำงาน และวัตถุประสงค์
เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์เป็นแบบไหนกันแน่ เราจึงจัดกลุ่มผู้ใช้ตามระดับความเชี่ยวชาญในการซื้อขาย DW โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เริ่มต้น ผู้ที่มีประสบการณ์ปานกลาง และผู้เชี่ยวชาญ เราคอยสังเกตปัญหาและอุปสรรคที่พวกเขาพบเจอในการใช้งาน รวมถึงวิธีการใช้งงานแต่ละขั้นตอน ซึ่งช่วยให้เราปรับหน้าตาของเว็บไซต์ได้ตรงความต้องการมากขึ้น จากนั้นจึงทำแบบร่างของเว็บไซต์ซื้อขาย DW ขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์ของเราใช้ซอฟท์แวร์ในการบันทึกและสังเกตการณ์ผู้เข้าร่วมทั้ง 5 คน
ข้อมูลที่ได้มาทำให้เราสามารถสร้างรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสมและระบุได้ว่ามีองค์ประกอบไหนของเว็บไซต์ที่เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขบ้าง ทั้งยังทำให้เรารู้ว่าเทรดเดอร์ DW ทั่วไปต้องการอะไรบนแพลตฟอร์มของ เจ. พี. มอร์แกน
อุปสรรคที่เราเอาชนะได้
1. รู้ว่าการใช้งานที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
การที่จะตั้งมาตรฐานการใช้งานที่ดีนั้น เราจำเป็นต้องบอกให้ได้ก่อนว่าอะไรเหมาะสมต่อการใช้งานในบริบทนี้ ซึ่งจากรูปแบบเว็บไซต์และผู้ใช้ดังที่กล่าวมา เราได้ข้อสรุปว่าเว็บไซต์นี้ต้อง
เรียนรู้ง่าย: ผู้ใช้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ครั้งแรกสามารถทำการซื้อขายได้สำเร็จอย่างง่ายดายแค่ไหน
มีประสิทธิภาพ: ผู้ใช้สามารถทำการซื้อขายได้สำเร็จอย่างรวดเร็วแค่ไหน
ไม่ทำให้เข้าใจผิด: ผู้ใช้มีการใช้งานผิดพลาดบ่อยแค่ไหน ความผิดพลาดนั้นร้ายแรงแค่ไหน และสามารถแก้ไขความผิดพลาดได้เร็วแค่ไหน
ใช้แล้วชอบ: ดีไซน์มีความน่าใช้มากแค่ไหน
เราได้ตั้งมาตรฐานไว้แบบนี้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่ทำการค้นคว้า ซึ่งช่วยให้เราสามารถสร้างอินเตอร์เฟซออกมาตรงตามที่ เจ. พี. มอร์แกน วางมาตรฐานเอาไว้สำหรับผู้ใช้ของพวกเขาได้
2. ประสบการณ์ของผู้ใช้
อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ เจ. พี. มอร์แกน พบเจอคือเว็บไซต์เดิมของพวกเขาเข้าใจยากและหาเมนูต่างๆ ยาก ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าใจคอนเทนต์ต่างๆ ได้ หรือไม่รู้ว่า เจ. พี. มอร์แกน มีข้อเสนออะไรบ้าง
การค้นคว้าทำให้เราได้ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างอินเตอร์เฟซสำหรับใช้งานและปรับกระบวนการใช้งานในการซื้อขายให้เข้าใจง่ายขึ้น
การเชิญผู้เข้าร่วมการค้นคว้าที่มีประสบการณ์ต่างกันทำให้เรามีข้อมูลของผลตอบรับที่เพียงพอในการสร้างเว็บไซต์ซื้อขาย DW ที่ไม่ใช่แค่ผู้เชี่ยวชาญใช้งานได้ดี แต่ผู้เริ่มต้นก็ใช้งานได้ง่ายเช่นกัน
3. อุปสรรคอื่นๆ
บางครั้งผู้เข้าร่วมการค้นคว้าก็ชี้ให้เราเห็นปัญหาการใช้งานบางอย่างที่ไม่สามารถจัดอยู่ในหมวดใดหมวดหนึ่งได้ เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าทั้งหมดเป็นปัญหาเล็กน้อย ซึ่งทีมโปรแกรมเมอร์ของเราแจ้งว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้อย่างไรบ้าง หลังจากที่สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมการค้นคว้าแล้ว เราก็จัดการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไม่ยากเย็น เช่น จัดการอินเตอร์เฟซให้เรียบร้อยขึ้นอีกหน่อย เป็นต้น
แม้ว่าปัญหาเล็กๆ เหล่านี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อประสบการณ์ของผู้ใช้มากนัก แต่การแก้ไขก็ช่วยลดปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาในอนาคตได้