Wireframe คืออะไร?
ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบของประโยชน์ในการสร้าง wireframe เรามาทำความรู้จัก wireframe กันก่อนว่าความจริงแล้วมันคืออะไรกันแน่?
Wireframe เป็นโครงสร้างพื้นฐาน 2 มิติความละเอียดต่ำของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล หรือพูดง่ายๆ ว่า wireframe ก็คือหลักเกณฑ์หรือการวางแนวทางเชิงโครงสร้างให้ผลิตภัณฑ์ของคุณ เสมือนวางแผนเริ่มต้นของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ
ด้วยความที่ wireframe เป็นเพียงแนวคิดและวิธีการทำงานเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจสร้างขึ้นด้วยการวาดมือหรือสร้างแบบดิจิทัลบนซอฟต์แวร์และเครื่องมือต่างๆ
Wireframe มีลักษณะพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่
1. เรียบง่าย – เนื่องจาก wireframe เป็นเพียงโครงร่างเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ซึ่งจะถูกปรับเพิ่มเติมในกระบวนการออกแบบต่อไปได้อีก จึงไม่จำเป็นต้องเติมแต่งจนเกินความจำเป็น
2. เน้นการใช้สีขาว-ดำ – เพื่อทำให้กระบวนการสร้าง wireframe เรียบง่ายและประหยัดเวลา จึงควรใช้สีขาวและดำเท่านั้น ซึ่ง wireframe ที่ดีควรมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย แม้จะไม่มีสีก็ตาม
3. กระชับ เข้าใจง่าย – เนื่องจากทีมต้องดูข้อมูลจาก wireframe มากกว่าเอกสารอื่นๆ ดังนั้น จึงควรมีลักษณะที่สั้น กระชับ และเข้าใจง่าย
Wireframe ถูกใช้ในการสื่อสารแนวคิดการออกแบบ UX ที่หลากหลาย ประกอบด้วย:
1. โครงสร้างของรูปแบบเส้นทาง
2. เค้าโครงผลิตภัณฑ์ดิจิทัล
3. ตำแหน่งและวิธีจัดวางคอนเทนต์
4. ฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์
5. โฟลว์การใช้งานและพฤติกรรมของผู้ใช้
แม้ว่าการทำ wireframe จะดูรวดเร็ว ก็อาจทำให้หลายๆ คนหลีกเลี่ยงที่จะทำมัน แต่สุดท้ายแล้วคุณอาจต้องพบกับ "ปัญหาติดขัดมากมาย" ในอนาคต
สร้าง wireframe เพื่อจุดประสงค์อะไร?
ตรวจสอบโครงสร้างผลิตภัณฑ์และระบุปัญหาในการใช้งาน
สิ่งเหล่านี้คือ 2 เหตุผลหลักในการสร้าง wireframe:
1. ตรวจสอบโครงสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัล
Wireframe นั้นเปรียบเสมือนรากฐานของบ้านในการทำหน้าที่เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่จะช่วยให้ทุกสิ่งสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานสำหรับแผนการออกแบบในอนาคตอีกด้วย
ดังนั้น wireframe จึงมีจุดประสงค์ในการใช้งานให้เป็นรากฐานของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล เพื่อช่วยตรวจสอบให้การทำงานของผลิตภัณฑ์ของคุณนั้นสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นดีและมีประสิทธิภาพ
2. ระบุปัญหาในการใช้งาน
Wireframe ช่วยผลักดันการใช้งานไปสู่ระดับแนวหน้าของกระบวนการออกแบบและพัฒนาได้ การแสดงสินค้าในหน้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและการจัดวางองค์ประกอบในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ว่าทุกส่วนสามารถใช้งานได้จริง
หาก wireframe ไม่มีสีสันและรูปภาพที่สวยงาม คุณก็สามารถเน้นไปที่ส่วนอื่นๆ อย่างองค์ประกอบของ โฟลว์การใช้งานและการนำทางในผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณ เช่น เส้นทาง conversion ตำแหน่งปุ่มนำทาง และอื่นๆ
ต่อจากนี้ เรามาดูประโยชน์ของการสร้าง wireframe และวิธีที่จะช่วยผลักดันความสำเร็จให้ธุรกิจของคุณกัน
Wireframe สร้างประโยชน์ให้ธุรกิจได้อย่างไร?
ด้วยการให้ความสำคัญกับผู้ใช้ ฟีเจอร์การทำงานพื้นฐาน และผลตอบรับ
การสร้าง wireframe เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญและมีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับทั้งกระบวนการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณ
นี่คือเหตุผล 3 ข้อสำคัญที่คุณควรรู้:
1. สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะกลุ่มผู้ใช้งาน
Wireframe เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารความคิดและแผนงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในกระบวนการออกแบบและพัฒนา ตั้งแต่ทีมงานของโปรเจกต์นั้นๆ โดยตรง ไปจนถึงผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
โดยคุณสามารถจัดการกับปัญหาที่รบกวนทั้งหมดออกไปได้ และมุ่งให้ทุกคนจดจ่อกับสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ใช้
ตัวอย่างเช่น ในระหว่างกระบวนการออกแบบและพัฒนา หลายคนมักพูดถึงตำแหน่งที่ควรวางองค์ประกอบต่างๆ ว่าควรเป็นอย่างไร แต่ด้วยการใช้ wireframe จึงทำให้นักออกแบบ UX ไม่โฟกัสกับชุดสีที่เลือกว่า ‘ใช้ได้ผล’ หรือไม่ แต่พวกเขาจะมุ่งเน้นไปที่การจัดวางองค์ประกอบ แผนผัง และองค์ประกอบของ CTA ที่หลากหลายไปยังตำแหน่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแต่ละหน้า
ด้วยความเรียบง่ายของ wireframe นั้นสามารถช่วยให้ขั้นตอนการออกแบบและการพัฒนาดำเนินไปได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณและทีมประหยัดทั้งเวลาและเงิน โดยยังรักษาคุณภาพไว้ได้เช่นเดิม
2. เข้าใจและออกแบบฟีเจอร์ได้ชัดเจน
หนึ่งในประโยชน์ที่ดีที่สุดของการนำเสนอ wireframe คือความชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้คุณจำลองการทำงานส่วนใหญ่ของหน้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้ ยิ่งกว่านั้นยังช่วยให้คุณสามารถระบุปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เรียกได้ว่าวิธีนี้จะช่วยให้คุณไม่ต้องมาเสียเวลาในการแก้ปัญหาภายหลัง
เนื่องจาก wireframe โดยทั่วไปไม่ต้องลงทุนอะไรมาก ทำได้เร็ว และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน จึงทำให้คุณและทีมงานสามารถให้ความชัดเจนและช่วยยืนยันตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ของคุณได้ ในต้นทุนที่ต่ำ
พูดง่ายๆ ให้เห็นภาพอีกครั้ง wireframe จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงฟังก์ชันการทำงานของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้ในระหว่างการออกแบบและการพัฒนา ซึ่งส่งผลให้กระบวนการทั้งหมดทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น
3. ช่วยเก็บข้อมูลผลตอบรับได้ดี
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือ wireframe สามารถใช้เพื่อเก็บข้อมูลผลตอบรับจากผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณได้ ซึ่งช่วยให้โฟกัสไปที่ระบบการทำงานและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้โดยตรง เพื่อให้แน่ใจได้ว่าคุณกำลังสร้างสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ
หากไม่มี wireframe ทีมออกแบบและพัฒนาอาจสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่แม้มีรายละเอียดยิบย่อย แต่กลับใช้ยาก และใช้เวลาพัฒนานาน จนสุดท้ายอาจพบปัญหามากมายหลังจากกระบวนการออกแบบและพัฒนาเสร็จสิ้น ซึ่งการกลับมาแก้ไขในตอนนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเดิม
4. ช่วยพัฒนาคอนเทนต์ให้ดีขึ้น
เชื่อสิว่าคอนเทนต์จำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วหน้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณนั้นทำให้สินค้าไม่น่าสนใจ และจะยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสบการณ์ของผู้ใช้ในแพลตฟอร์มของคุณ
Wireframe ช่วยให้คุณรู้ว่าส่วนไหนใช้งานยาก ช่วยทีมดีไซน์ปรับรูปแบบของเนื้อหาและจัดวางรูปภาพได้หลากหลาย เพื่อให้การแสดงผลดึงดูดผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น
ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการออกแบบ wireframe
แม้ที่จริงแล้วจะดูเหมือนว่า wireframe เป็นการใช้งานเพื่อจุดประสงค์ที่สำคัญหลายอย่าง แต่บางคนก็ยังเลือกที่จะข้ามขั้นตอนสำคัญนี้ เพราะความเข้าใจผิดอยู่ดี
เผยความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ wireframe 2 ประการที่สำคัญ ได้แก่:
/ “เราจะประหยัดเวลาและทำงานได้ดียิ่งขึ้น ถ้าข้ามขั้นตอนการทำ wireframe”
แม้ว่าการตัดขั้นตอนการทำ wireframe ออกไปอาจดูเหมือนเป็นทางออกที่ดีในการเพิ่มเวลาทำงานให้คุณ แต่ที่จริงแล้วมันกลับทำให้คุณเสียเวลาและเงินมากขึ้นต่างหาก
อย่างที่บอกไปว่า wireframe เป็นเหมือนโครงร่างพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล หากคุณข้ามการทำ wireframe ไปก็เท่ากับว่าคุณกำลังสร้างบ้านโดยไม่มีรากฐานที่มั่นคงนั่นเอง
แม้บ้านจะดูสวยไร้ที่ติ แต่ไม่นานก็จะพังทลายลง ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากขึ้นในการซ่อมแซมต่อไป
/ “เราสามารถรู้ผลลัพธ์ของการทำ wireframe ได้ โดยไม่ต้องลงมือทำจริง”
Wireframe มักถูกมองข้ามและละเลยไป เพราะสร้างได้เร็วและง่าย จึงทำให้หลายๆ คนมักเชื่อว่าสามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนได้
หากข้ามขั้นตอนนี้ไป ก็อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการละเลยหรือหลงลืมสิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล โครงสร้างที่ดีและมีประสิทธิภาพ การมีแบบแผนที่เน้น UX และกลยุทธ์อื่นๆ อีกมาก
Wireframe แบ่งเป็นประเภทหลักได้กี่ประเภท?
Wireframe ความละเอียดต่ำ ปานกลาง และสูง
คล้ายกันกับรูปแบบของ prototype ซึ่ง wireframe นั้นมีหลากหลายประเภทที่คุณสามารถสร้างได้ โดยมีความแตกต่างกันไปตามรายละเอียดต่างๆ
ความแตกต่างของ wireframe แต่ละประเภท:
1. Wireframe ความละเอียดต่ำ
เป็นรูปแบบพื้นฐานขั้นพื้นฐานในการแสดงภาพผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณ คล้ายๆ กับแบบร่างชิ้นแรกของผลิตภัณฑ์
Wireframe เหล่านี้สร้างขึ้นโดยไม่ได้มีมาตราส่วนคงที่มากนักเสมือนภาพสเกตช์ก่อนจะผลิตเป็นผลงานชิ้นเอก และมักมีรายละเอียดพื้นฐาน เช่น รูปร่างแบบเรียบง่ายและเนื้อหาจำลอง อย่างป้ายแท็ก และหัวข้อต่างๆ
แบบร่างของ wireframe ความละเอียดต่ำ เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการใช้อธิบายโฟลว์ในทุกแง่มุมของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ตั้งแต่รูปแบบการนำทางไปจนถึงแผนผังผู้ใช้งาน
2. Wireframe ความละเอียดปานกลาง
Wireframe ประเภทนี้มีความละเอียดยิ่งขึ้น โดยสามารถใช้นำเสนอภาพและการทำงานของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้อย่างแม่นยำ
ใน wireframe จะกำหนดข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับขนาดองค์ประกอบ ระยะห่าง และรูปแบบอักษร ทำให้ดูง่าย สะอาดตาและประณีตกว่าแบบแรกที่มีความแม่นยำน้อยกว่า
อย่างที่คุณเห็นในภาพด้านล่างนี้ เมื่อเทียบกับ wireframe แบบแรกแล้ว wireframe รายละเอียดปานกลางจะค่อยๆ กลายเป็นรูปร่างของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่แท้จริงคล้ายหน้าตาที่ทำเสร็จแล้ว
3. Wireframe ความละเอียดสูง
ประเภทสุดท้ายคือ wireframe ความละเอียดสูง ซึ่งเป็นแบบจำลองภาพผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณที่ได้รับการพัฒนาให้มีความแม่นยำที่สุด
Wireframe ประเภทนี้จะมีรายละเอียดและความแม่นยำในระดับสูงสุด เนื่องจากมักสร้างในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการใส่หัวเรื่องหรือหัวเรื่องย่อยในขั้นตอนนี้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีการใช้โทนสีเทาที่ต่างกัน เพื่อระบุองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบ แต่เราไม่แนะนำให้ใช้กราฟิกหรือภาพที่ซับซ้อน เพื่อลดโอกาสจะพบปัญหาอื่นๆ เข้ามา
จากภาพด้านบนสามารถเห็นได้ว่า มีการไล่ระดับความเข้มของสีที่ละเอียดกว่า รูปร่างและเส้นจาก wireframe ความละเอียดปานกลาง ถูกปรับแต่งให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นจน "เสร็จสิ้น"
เริ่มสร้าง wireframe ได้อย่างไร?
Wireframe คือหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่ช่วยให้เห็นภาพผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณ
นอกจากความเรียบง่ายแล้ว คุณอาจยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มสร้าง wireframe ได้อย่างไร และจะต้องทำอะไรบ้าง
ดู 3 วิธีหลักในการสร้าง wireframe:
1. เก็บข้อมูลและทำวิจัยให้ครอบคลุม
การวิจัยจะช่วยให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกระยะยาวเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้ใช้เผชิญ และยังช่วยให้คุณสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ เพื่อยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ได้ใหม่
โดยก่อนที่จะเริ่มกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณ ทีมงานของเราจะทำการวิจัยผู้ใช้จำนวนมาก ประกอบด้วย
/ สัมภาษณ์ผู้ใช้
/ สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
/ การทำ customer journey mapping
/ ระบุลักษณะของเว็บ
/ แผนผังผู้ใช้และอื่นๆ
งานวิจัยของเราจะแปรผลเป็นรูปแบบที่มองเห็นได้ผ่านการสร้าง wireframe โดยทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เราจะรวบรวมจากผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องนั้นมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างและพัฒนาไปอีกขั้นได้
ตัวอย่างเช่น การสร้างโฟลว์ หรือ customer journey mapping จะทำให้เรารู้ได้ถึงจำนวนเฟรมที่เราควรสร้างไว้ระหว่างการทำ wireframe ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้เราประหยัดเวลามากขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องสร้างแบบแปลนมากเกินไป และด้วยจำนวนเฟรมที่จำกัดนี้เราจึงสามารถรับประกันคุณภาพได้
จากการทำวิจัยผู้ใช้จำนวนมาก ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรม เป้าหมาย แรงจูงใจ รวมถึงความต้องการของผู้ใช้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพวกเขาได้
2. จัดการและเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่
ด้วยข้อมูลจำนวนมากที่เราเก็บรวบรวมตลอดกระบวนการทำวิจัย จึงอาจดูข้อมูลในสิ่งที่ถูกจัดเก็บและนำข้อมูลกลับมาดูเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น การสร้างโฟลว์หรือ customer journey mapping จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบและง่ายต่อการอ้างอิงกลับมาใช้ โดยเรามีจุดมุ่งหมายเน้นไปที่ข้อกังวลของผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยคำนึงถึงสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่าง อะไรคือแรงจูงใจสูงสุด การทำความเข้าใจในการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล และอื่นๆ
ในระหว่างการทำ wireframe อาจดูไม่เป็นระเบียบเท่าไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสร้าง wireframe ความละเอียดต่ำ การจัดระเบียบข้อมูลที่รวบรวมไว้จะช่วยให้ประหยัดเวลา และทำให้กระบวนการสร้าง wireframe มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สร้างแบบร่าง ไม่ใช่งานศิลปะ
หลังจากการทำวิจัยและจัดการข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเริ่มสร้าง wireframe ต่อไป ถึงแม้ว่า wireframe จะสร้างได้เร็ว แต่การจะสร้าง wireframe ที่ดีได้นั้น คุณต้องอาศัยการวิจัยที่เหมาะสมทั้งหมดแล้ว
เพื่อให้มี wireframe ที่มีประสิทธิภาพ เราพยายามจะไม่โชว์รายละเอียดที่ไม่จำเป็นใน wireframe เนื่องจากนี่เป็นเพียงโครงร่างเพื่อแสดงคุณสมบัติและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ดิจิทัล แต่เราจะใช้ wireframe เพื่อเป็นแบบในการร่างลักษณะผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้ายของเราได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากสเกตช์ในงานศิลปะ
ธุรกิจที่เราร่วมงานด้วย
ทีม UX และนักพัฒนาของเราได้ร่วมงานกับองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 200 แห่งทั่วเอเชีย
เราดูแลลูกค้าเสมือนเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจ ทั้งช่วยขยายธุรกิจให้เติบโต และสร้างความเป็นดิจิทัลแก่ธุรกิจลูกค้า โดยที่ผ่านมาเราได้ร่วมงานกับธุรกิจดังต่อไปนี้
ประกันภัย
Manulife, Oohoo
ข่าวและบันเทิง
BBC, TopGear, Burda Thailand
E-commerce
Ascend, Ocean Glass, Das Intergroup
ท่องเที่ยวและโรงแรม
Ascend, AskAva, Gogojii, Co Van Kessel
การเงิน
SCB, OmiseGo, 2CP
จัดส่งอาหาร
Food Panda
สุขภาพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
ที่ปรึกษา
BCG
Self-storage
Redd
อสังหาริมทรัพย์
Arthur Online, Home Connect
การศึกษา
Starfish, AIP Internship
พบกับทีมออกแบบ UX/UI ของเรา
ที่มอร์โฟซิส เรามีทีมออกแบบ UX ที่มากด้วยประสบการณ์ และมุ่งเน้นที่จะส่งมอบผลลัพธ์ชั้นเยี่ยมให้กับลูกค้า
เราเชื่อเสมอในแนวคิดที่ว่า 'ผู้ใช้ต้องมาก่อน' โดยให้ผลประโยชน์ ความคาดหวัง และความต้องการของผู้ใช้แนวหน้าในทุกบริการของเรา
โดยรูปแบบบริการของเรา ประกอบด้วย:
3. การออกแบบ UX
5. การทำ Conversion Rate Optimization
และอีกมากมาย