บริการสร้าง prototype
ภายใต้แรงกดดันที่ต้องผลักดันให้เกิดการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สู่ตลาดก่อนการแข่งขัน บริษัทต่างๆ มักจะเร่งรีบหรือแม้กระทั่งข้ามขั้นตอนการตรวจสอบแบบจำลองเบื้องต้นหรือต้นแบบ อย่างไรก็ตาม การขาดการวิเคราะห์และทำการทดสอบก่อนเปิดตัวมักส่งผลต่อการออกแบบ ฟังก์ชันการทำงาน และองค์ประกอบอื่นๆ ที่มักจะพลาดในจุดสำคัญเมื่อพูดถึงการดึงดูดความสนใจ และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการทำให้กลุ่มเป้าหมายยังคงสนใจสิ่งที่คุณนำเสนอแก่พวกเขา
แม้ว่าการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบก่อนที่จะเห็นโซลูชันที่ใช้งานจริงอาจดูเหมือนเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยประหยัดเวลา แต่การทำเช่นนั้นจะทำให้ความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์และแบรนด์โดยรวมของคุณตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ลำพังแค่ข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ หรือขั้นตอนเพิ่มเติมในกระบวนการต่างๆ อาจส่งผลให้ผู้ใช้ถึงขั้นละทิ้งแอปของคุณไปโดยปริยาย นี่อาจทำให้ความคิดของคุณที่ว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างประสบความสำเร็จ กลับต้องลงเอยที่การเสียทั้งเวลา ทรัพยากรอันมีค่าของบริษัท และความพยายามที่คุณรวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้องพังทลายลงได้อย่างง่ายดาย
การสร้างต้นแบบแอปฯ หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลของคุณเป็นหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรับรองว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ได้รับการตรวจสอบ, ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล, และอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ซึ่งจะช่วยให้โปรเจกต์ประสบความสำเร็จได้ในภาพรวม
อ่านสิ่งต่างๆ ต่อจากนี้เพื่อเรียนรู้ว่าการสร้าง prototype ส่งผลต่อการสร้าง ROI ได้ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์อย่างไร และวิธีเลือกหนทางที่เหมาะสมสำหรับการตอบสนองความต้องการของโปรเจกต์ที่คุณกำลังทำให้ได้ดีที่สุด
การสร้าง prototype มีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณอย่างไร
ในโลกของการออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างต้นแบบ (prototype) หมายถึงการฝึกใช้แบบจำลองเพื่อดำเนินการทดสอบและทำซ้ำในแอปฯ แพลตฟอร์ม หรือประสบการณ์ดิจิทัลอื่นๆ ก่อนที่จะเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ โดยการสร้าง prototype จะนำเสนอการสาธิตที่เป็นรูปธรรมของจุดแข็งและจุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลักดันให้เกิดการปรับปรุงการออกแบบ UX/UI, ฟังก์ชันการทำงาน, องค์ประกอบภาพ, และอื่นๆ พร้อมทั้งช่วยให้ทีมได้รับคำตอบที่ชัดเจนและเป็นกลางสำหรับคำถามเหล่านี้และคำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เช่น
ผลิตภัณฑ์ได้กำหนดเป้าหมายโดยอิงกับปัญหาที่ลูกค้ามีอยู่และมีความเฉพาะเจาะจงหรือไม่?
ข้อมูลสำคัญง่ายต่อการค้นหา ทำความเข้าใจ และดำเนินการหรือไม่?
ฟีเจอร์ใดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพด้าน responsive design ของแอปฯ หรือแพลตฟอร์ม?
ประสบการณ์ที่แอปฯ มอบให้สามารถดึงดูดความสนใจและอารมณ์ร่วมของผู้ใช้หรือไม่?
มีฟีเจอร์ที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกได้โดยไม่ทำให้แอปฯ สูญเสียคุณค่าหรือไม่?
ผลิตภัณฑ์ของคุณแตกต่างจากโซลูชันที่คู่แข่งนำเสนออย่างไร?
ผลิตภัณฑ์ของคุณตอบสนองความต้องการและสิ่งที่ผู้ชมตามหาได้ดีเพียงใด?
มันมอบประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นและไร้ข้อบกพร่องหรือไม่?
การสร้าง prototype สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมและบริบทการออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย และในขณะที่เราจะสำรวจในส่วนต่อไปนี้ ต้นแบบสามารถมีรูปแบบต่างๆ ได้เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นแบบร่างคร่าวๆ ที่วาดด้วยมือหรือการแสดง interactive HTML นั่นก็เพราะว่า prototype ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของสมมติฐานหลักก่อนที่จะสรุปการออกแบบนั่นเอง
เมื่อนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ยึดถือลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้
เพิ่ม ROI
การสร้าง prototype มีข้อได้เปรียบที่สำคัญตรงที่ต้องใช้เวลา ต้นทุน และความมุ่งมั่นด้านเทคโนโลยีที่ค่อนข้างต่ำเพื่อให้ได้มาซึ่งมูลค่ามหาศาล โดยการปรับปรุงต้นแบบมีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับการยกเครื่องผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนา หรือแย่กว่านั้นคือหลังที่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปแล้ว ด้วยการทดสอบสมมติฐานและคุณสมบัติของแบบจำลอง บริษัทจึงสามารถที่จะจัดสรรงบประมาณการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความเสี่ยงต่ำ
ด้วยการใช้การสร้าง prototype ทีมของคุณจึงสามารถตรวจพบและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการพัฒนา ก่อนที่จะทุ่มเทเวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอย่างเต็มพิกัด สิ่งนี้ช่วยลดความจำเป็นในการสร้างใหม่และจัดการแก้ไขปัญหาในอนาคต และช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์เชิงลบ คุณลักษณะที่ผิดปกติ และปัญหาอื่นๆ ที่อาจทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ของคุณ ซึ่งอาจทำให้คนที่มีโอกาสเป็นลูกค้าในอนาคตไม่กล้าลองใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณได้
ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่
การสร้างต้นแบบไม่ได้เป็นเพียงการลดความเสี่ยงเท่านั้น แต่สร้างโอกาสให้ทีมได้ระดมความคิดและทดลองกับแนวคิดใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า โดยการสำรวจโซลูชันมีความยืดหยุ่นจะช่วยสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีต้นทุนในการทำงานที่ต่ำลง ช่วยให้นักออกแบบ UX/UI นักพัฒนา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กร และแม้แต่ผู้ใช้ปลายทางมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปฯ ของคุณไปสู่อีกระดับ
ส่งผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้เร็วกว่า
องค์กรบางแห่งอาจกังวลว่าการลงทุนทรัพยากรในการสร้าง prototype และการตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิดผลิตภัณฑ์จะทำให้การดำเนินงานช้าลง อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือการสร้างต้นแบบช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม ด้วยการอนุญาตให้ทำซ้ำได้เร็วขึ้นและลดความจำเป็นในการทำงานซ้ำลงอย่างมาก โดยการสร้างต้นแบบ โซลูชันต่างๆ (หรือส่วนประกอบแต่ละส่วน) ที่สามารถทดสอบได้ภายในกรอบเวลาอันสั้น ซึ่งนำไปสู่โปรเจกต์การที่ดำเนินการได้รวดเร็วและประสบความสำเร็จมากขึ้น
ได้รับความคิดเห็นจากผู้ใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ
ระดับของรายละเอียดและความสมบูรณ์ของ prototype เป็นสิ่งที่กำหนดว่าคุณจะสามารถสังเกตปฏิกิริยาของผู้ใช้จริงและมีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ของคุณในระหว่างการพัฒนาได้มีประสิทธิภาพมากเพียงใด โดยการดำเนินการทดสอบ, การสำรวจ, การสัมภาษณ์, และการวิจัยอื่นๆ โดยใช้ต้นแบบจะให้ข้อเสนอแนะที่มีค่า ซึ่งช่วยให้ทีมของคุณทำการปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ก่อนการเปิดตัวที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ UX/UI ที่ดีที่สุด
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะประสบความสำเร็จในตลาดเมื่อต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำบริษัท นักลงทุน และผู้มีอำนาจตัดสินใจอื่นๆ การสร้าง prototype ช่วยรับประกันในเรื่องนี้ โดยข้อมูลการทดสอบที่ได้รับจากต้นแบบ ตลอดจนความสามารถในการลองใช้แอปฯ โดยตรง จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของคุณ
การเลือกวิธีการสร้างต้นแบบที่เหมาะสม
เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้เหล่านี้ ก็ถึงเวลาที่จะกำหนดวิธีการสร้าง prototype ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของคุณแล้ว โดยมีโมเดลที่มีประสิทธิภาพมากมายสำหรับการสร้างและทดสอบต้นแบบ แต่ละโมเดลมีจุดแข็งของตัวเองในระหว่างขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ในคู่มือนี้ เราจะเน้นปัจจัยสำคัญสองประการ ได้แก่ รูปแบบของ prototype (กระดาษ, ดิจิทัล, หรือ HTML) และระดับความสมบูรณ์ (ความเที่ยงตรงต่ำ, ปานกลาง หรือสูง) โดยบริบทเฉพาะของต้นแบบของคุณจะเป็นตัวกำหนดแนวทางที่จะให้โซลูชันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการของคุณ
การจัดรูปแบบ: เครื่องมือใดที่จำเป็นในการนำเสนอแนวคิด
Prototype แบบกระดาษ
ในการเริ่มสร้างไอเดียนั้นคุณเพียงต้องใช้ดินสอกับกระดาษและเวลาเพียงไม่กี่นาที ซึ่งการสร้าง prototype แบบกระดาษเหมาะสำหรับการออกแบบในระยะเริ่มต้น เมื่อทีมกำลังสำรวจแนวคิดและโซลูชันระดับสูง โดยวิธีการที่รวดเร็วและมีความแม่นยำต่ำนี้อาจรวมถึงการแสดงพื้นฐานของหน้าจอ โฟลว์ของผู้ใช้ และการโต้ตอบ นั่นหมายความว่าคุณสามารถสร้างต้นแบบจากกระดาษได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถทิ้งได้โดยไม่เสี่ยงต่อการสูญหาย
ในทางกลับกัน prototype แบบดิจิทัลมีความสมจริงมากกว่า prototype แบบกระดาษ และใช้เวลาน้อยกว่า prototype แบบ HTML ซึ่งเป็นสื่อที่ทีมออกแบบนิยมใช้บ่อยที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีเครื่องมือมากมายสำหรับสร้างต้นแบบดิจิทัล ตั้งแต่ซอฟต์แวร์พัฒนาต้นแบบเฉพาะไปจนถึงเครื่องมือนำเสนอ เช่น PowerPoint prototype แบบดิจิทัลอาจแตกต่างกันอย่างมากในระดับรายละเอียดหรือความเที่ยงตรง ทำให้เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ ทีม และงบประมาณที่มีความหลากหลาย
Prototype แบบดิจิทัล
หากโครงการอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายและทีมออกแบบมีความเชี่ยวชาญในการเขียนโค้ด การสร้าง prototype แบบ HTML สามารถนำเสนอการสาธิตที่ครอบคลุมส่วนประกอบส่วนใหญ่ของแอป หากไม่ใช่ทั้งหมด ต้นแบบ HTML ยังสามารถทดสอบได้ง่ายบนอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับมันได้โดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ภายนอก ซึ่งการพัฒนา prototype แบบ HTML ที่ประสบความสำเร็จอาจต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก แต่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงโดยทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับโค้ดสุดท้าย
การจัดรูปแบบ: เครื่องมือใดที่จำเป็นในการแสดงแนวคิด
Low fidelity (ความคล้ายคลึงต่ำ)
การสร้างต้นแบบที่มีความคล้ายคลึงต่ำถือเป็นตัวเลือกที่ประหยัดที่สุดในสเปกตรัมนี้ แต่ก็มีรายละเอียดให้คุณน้อยที่สุดเช่นกัน โดยสิ่งนี้มีประโยชน์ในการประเมินการสร้างภาพข้อมูลเบื้องต้นของประสบการณ์ผู้ใช้ prototype ที่มีความคล้ายคลึงต่ำมักจะสร้างบนกระดาษ แต่อาจรวมถึงการสวมบทบาทและกิจกรรมอื่นๆ ด้วย แม้ว่าต้นแบบที่มีความคล้ายคลึงต่ำจะไม่ใช่โซลูชันที่สมบูรณ์ แต่ก็สามารถเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยปรับปรุงการทำซ้ำในอนาคตได้ดีอย่างมาก
Medium fidelity (ความคล้ายคลึงปานกลาง)
ตามชื่อที่แนะนำ นี่คือจุดกึ่งกลางระหว่างภาพร่างคร่าวๆ กับผลิตภัณฑ์ที่เกือบสมบูรณ์ ต้นแบบที่มีความคล้ายคลึงปานกลางจะเหมาะสมเมื่อทีมออกแบบเริ่มปรับแต่งรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับแนวคิดที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว วิธีการนี้มีความคล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมากขึ้น แต่ก็ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอสำหรับการทดสอบขั้นสุดท้าย
คำว่า "ความคล้ายคลึงปานกลาง" หมายถึง prototype ที่อยู่ระหว่างแนวคิดพื้นฐานและผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ รายละเอียดระดับนี้เหมาะอย่างยิ่งเมื่อทีมออกแบบกำลังปรับแต่งแนวคิดที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ต้นแบบที่มีความคล้ายคลึงปานกลางจะช่วยนำเสนอผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ละเอียดยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่พร้อมสำหรับการทดสอบเต็มรูปแบบอยู่ดี
High fidelity (ความคล้ายคลึงสูง)
Prototype ที่มีความคล้ายคลึงสูงมักจะพัฒนาโดยใช้ HTML สามารถที่จะแสดงการออกแบบและการทำงานที่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ของคุณได้ วิธีการสร้างต้นแบบชนิดนี้มีรายละเอียดที่ซับซ้อน ซึ่งทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการทดสอบการออกแบบที่ตอบสนองและการโต้ตอบของผู้ใช้ที่ซับซ้อน แม้ว่าการลงทุนในต้นแบบที่มีความคล้ายคลึงสูงจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย แต่โดยทั่วไปแล้วจะสมเหตุสมผลก็ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการทดสอบหลายรอบและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
บทสรุป
เมื่อคุณทำได้อย่างถูกต้อง การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ดิจิทัล แพลตฟอร์ม หรือแอปฯ จะให้คุณค่าที่สูงส่งเมื่อเทียบกับการลงทุนของบริษัทของคุณ ไม่ว่าคุณกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทใด หรือใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ขนาดไหน โอกาสในการทดสอบแนวคิดของคุณในลักษณะที่มีต้นทุนต่ำและมีความเครียดต่ำจะนำมาซึ่งความชัดเจนที่ประเมินค่ามิได้ ทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน และวางใจในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ราบรื่น ระเบียบวิธีที่มีอยู่มากมายช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในการเลือกรุ่นที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสม รวมถึงพาร์ตเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญอย่าง Morphosis นั้นสามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายนี้ได้