สิ่งที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ SEO
เผยแพร่เมื่อ 21 Oct 2022 โพสไปที่โดยทั่วไปการออกแบบมักส่งผลต่อเอกลักษณ์และข้อความของแบรนด์ที่ต้องการสื่อ ในขณะที่ SEO จะช่วยให้แบรนด์ของคุณได้พบกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม ดังนั้น ความเข้าใจในเรื่อง SEO สำหรับนักออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำให้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลประสบความสำเร็จ ซึ่งควรให้ความใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนแรกสุดในการออกแบบหรือแม้แต่การรีดีไซน์ก็เช่นกัน แม้ว่าแต่ละขั้นตอนจะแตกต่างกันอย่างมาก แต่ก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ของคุณได้
ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ (SEO) และวิธีออกแบบด้วยหลักการ SEO รวมถึงคลายข้อสงสัยต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ SEO ไปด้วยกัน
SEO คืออะไร?
SEO ทำงานอย่างไร?
ประเภทของการทำ SEO มีอะไรบ้าง?
การออกแบบด้วยหลักของ SEO
ความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับ SEO
SEO คืออะไร?
SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization ซึ่งในภาษาไทยก็เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มการมองเห็นบนหน้า search engine ต่างๆ โดยเฉพาะ Google ดังนั้น เมื่อผู้ใช้ค้นหาผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ เว็บไซต์ของคุณจะมีโอกาสได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งจะดึงดูดผู้ใช้ให้เข้ามาเป็นลูกค้าได้ รวมไปถึงลูกค้าปัจจุบันให้เข้าถึงธุรกิจของคุณได้มากยิ่งขึ้น
SEO ยังช่วยเพิ่มการเข้าชมและการซื้อขายบนหน้าเว็บไซต์และผลิตภัณฑ์ดิจิทัลผ่านผลการค้นหาบน search engine และวิธีเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ ด้วยการทำ SEO มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
หน้าหรือเนื้อหาของเว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาอันดับต้นๆ บนหน้า Google เมื่อผู้คนค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
เพิ่มกลยุทธ์การเติบโตระยะยาวที่นำผู้ชมมายังเว็บไซต์ของคุณตลอดเวลา
สร้างการมองเห็นและปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์โดยไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณา
ตอนนี้เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของ SEO แล้ว ต่อไปเราจะพาไปเรียนรู้การทำงานว่าเป็นอย่างไร
SEO ทำงานอย่างไร?
เพื่อให้คุณได้เข้าใจว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จาก SEO ได้อย่างไร และจะสามารถจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณให้สูงขึ้นได้อย่างไร ก่อนอื่น คุณจะต้องเข้าใจภาพรวมการทำงานของ SEO ซึ่งอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ด้วย 3 ขั้นตอนหลักที่ search engine ใช้

การรวบรวมข้อมูล (crawling) search engine จะใช้ bot เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลตามหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ เพื่อไปใส่ลงในที่เก็บข้อมูล (index) โดยรูปแบบข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้งหน้าเว็บ, รูปภาพ, วิดีโอ, ไฟล์ PDF และอื่นๆ แต่จะต้องถูกค้นพบในรูปแบบของลิงก์เสมอ
การจัดเก็บข้อมูล (indexing) เป็นที่จัดเก็บและจัดระเบียบข้อมูลหรือเนื้อหาที่พบระหว่างกระบวนการรวบรวมข้อมูลก่อนหน้า เสมือนฐานข้อมูลขนาดใหญ่หรือลองจินตนาการถึงห้องสมุดที่มีข้อมูลรวบรวมไว้จำนวนมาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ที่แสดงให้ผู้ใช้งานเห็น
การจัดอันดับ (ranking) จากนั้น อัลกอริทึมจะกำหนดว่าหน้าใดควรปรากฏในผลการค้นหาตามข้อความค้นหา โดยอัลกอริทึมเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อเลือกแสดงหน้าที่เกี่ยวข้องและมีคุณภาพสูง เพื่อมอบประสบการณ์การค้นหาที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่การเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์รวมไปถึงเนื้อหาต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้เพิ่มอันดับการค้นหาที่สูงขึ้น
ประเภทของการทำ SEO มีอะไรบ้าง?
เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่า SEO คืออะไรและมีการทำงานอย่างไร ต่อมาเราจะพาคุณมาทำความรู้จักประเภทของ SEO แบบต่างๆ และเรียนรู้การนำ SEO แต่ละด้านมาช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ ซึ่งมี 3 ประเภท ดังนี้
On-page SEO: เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคอนเทนต์ในเว็บไซต์และการเพิ่มประสิทธิภาพคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีแก่ผู้ใช้ โดยคอนเทนต์นั้นอาจเป็นได้ทั้งบล็อก คำโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือเว็บไซต์ และอื่นๆ อีกมากมาย สำหรับการทำ on-page SEO นั้นนอกจากยังส่งผลต่อการออกแบบที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยตรงต่ออันดับธุรกิจของคุณและผลกำไร ดังนั้นการลงทุนในการออกแบบที่เน้น SEO ตั้งแต่ต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
Off-page SEO: การทำ SEO ประเภทนี้จะเกี่ยวข้องกับลิงก์จากเว็บไซต์อื่นๆ ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ หรือที่เรารู้จักกันว่าการทำ backlink ถึงแม้จะเป็นการทำ SEO นอกเว็บไซต์แต่ก็สามารถสร้างผลประโยชน์ให้เว็บไซต์ของช่วยคุณได้ เนื่องจากการที่มีเว็บไซต์อื่นๆ เชื่อมเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณจะช่วยให้ search engine เข้าใจว่าเว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือและได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้น
Technical SEO: SEO ประเภทสุดท้ายคือ technical SEO ซึ่งเป็นการทำให้ Bot ของ search engine สามารถรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ของคุณและจัดเก็บได้ดีมากน้อยเพียงใด อาจรวมถึงการลดขนาดไฟล์รูปภาพในเว็บไซต์ของคุณเพื่อให้โหลดได้เร็วขึ้น รวมไปถึงเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์เพื่อการใช้งานบนมือถือที่ดีขึ้น และอื่นๆ อีกมาก
ออกแบบด้วยกระบวนการคิดแบบ SEO
การทำ SEO ส่งผลดีอย่างมากต่อจำนวนผู้ใช้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ และด้วยแคมเปญ SEO ที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใช้จะค้นพบผลิตภัณฑ์ของคุณได้อย่างง่ายดายจากการค้นหา รวมถึงเพจต่างๆ ทั่วทั้งเว็บไซต์
ดังนั้นแล้ว SEO ควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดและการทำงานของนักออกแบบทุกคน เพื่อให้เว็บไซต์ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และช่วยให้ search engine หาเว็บไซต์ของคุณได้ไม่ยากอีกต่อไป
1. การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้อาจไม่ได้เริ่มที่โฮมเพจเสมอไป
นักออกแบบส่วนใหญ่มักจะสร้างหน้าเว็บไซต์หรือหน้าจอต่างๆ ขึ้นมาโดยคำนึงถึงเส้นทางของผู้ใช้ เนื่องจากจะช่วยให้กำหนดได้ว่าหน้าใดที่จำเป็น จัดลำดับหน้าแบบใด รวมไปถึงองค์ประกอบที่จะรวมไว้ในแต่ละหน้า
อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบด้วยหลัก SEO คือ การโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ไม่ได้เริ่มต้นที่หน้าแรกของเว็บเสมอไป เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะค้นพบผลิตภัณฑ์และเข้าสู่หน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ตามคีย์เวิร์ดที่กำหนดไว้หรือคำค้นหาที่แตกต่างกัน
ลองดู Canva เป็นตัวอย่าง หนึ่งในแพลตฟอร์มออกแบบกราฟิกยอดนิยมที่ใช้งานฟรี สำหรับใช้ออกแบบทั้งบัตรเชิญ นามบัตร โพสต์ Instagram และอื่นๆ ด้วยฟีเจอร์ใช้งานที่หลากหลาย ทำให้ผู้ใช้ไม่ได้ไปที่โฮมเพจเสมอไปเมื่อเข้ามาใน Canva แต่อาจไปที่หน้าเทมเพลตที่พวกเขานำเสนอแทน
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ต้องการสร้างนามบัตร พวกเขาอาจพิมพ์ค้นหา "นามบัตรออกแบบเอง" บน Google แทนที่จะไปที่หน้าแรกของเว็บไซต์ ผู้ใช้ก็จะเข้าสู่หน้าออกแบบนามบัตรของ Canva โดยเฉพาะ เนื่องจากอยู่ในอันดับการค้นหาที่สูงกว่าหน้าแรกของเว็บ
ดังนั้น หากผู้ใช้ไม่ได้เข้าสู่หน้าแรกเองและเข้าไปต่อที่หน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ของคุณ คุณอาจจำเป็นต้องออกแบบทุกหน้าให้เหมาะกับผู้ใช้ที่จะสามารถเชื่อมโยงไปถึงโดยตรงและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์เป็นครั้งแรกให้ได้
2. เน้นการแสดงผลบนมือถือเป็นอันดับแรก
ต่อไปคือการจัดอันดับการแสดงผลบนมือถือเป็นอันดับแรก ย้อนกลับไปในปี 2019 Google ได้ประกาศนโยบายการจัดอันดับการแสดงผลบนมือถือเป็นอันดับแรก ซึ่งหมายความว่า Google จะจัดอันดับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลในเวอร์ชันมือถือแทนที่จะเป็นเดสก์ท็อป ซึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับ SEO ดังต่อไปนี้:
ความพร้อมใช้งานของเนื้อหา: เนื้อหา HTML ทั้งหมดในเวอร์ชันเดสก์ท็อปควรเก็บไว้ในเวอร์ชันมือถือเพื่อให้ถูกนับในกระบวนการจัดอันดับ
ตำแหน่งลิงก์ที่วางไว้มีความสม่ำเสมอทั้งในมือถือและเดสก์ท็อป: ลิงก์ภายในทั้งหมดที่ฝังอยู่ในเนื้อหาจะต้องเหมือนกันในเวอร์ชันมือถือ
Heading ที่มีความสม่ำเสมอ: heading ทั้งหมดต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างเวอร์ชันเดสก์ท็อปและมือถือ
3. Crawl depth และวิธีออกแบบ site navigation สำหรับ SEO
Crawl depth คือ ปริมาณความลึกที่ Google ต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาแต่ละหน้า (ที่มีความสัมพันธ์กับหน้าแรก) ยิ่งเพจอยู่ใกล้โฮมเพจมากเท่าไร ก็ยิ่งสำคัญในการประเมินของ Google มากขึ้นเท่านั้น
สำหรับ site navigation นั้นการใช้ mega-menu จะช่วยลดความลึกในการรวบรวมข้อมูลของหน้าต่างๆ ที่สำคัญสำหรับ SEO ทั้งหมดในเว็บไซต์ ปุ่มเมนูเหล่านี้นับเป็นตัวเลือกการออกแบบที่ดีในการใช้กับหน้าที่มีตัวเลือกจำนวนมาก และยังช่วยในการเปิดให้หน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ที่อยู่ลึกถูกค้นเจอได้อย่างรวดเร็ว
เราลองมาดูตัวอย่างเมนูเด่นจาก Canva กัน:

อีกวิธีหนึ่งคือการแสดงลิงก์ไปยังหน้า landing page ของ SEO แต่ละหน้าโดยตรงบนเนื้อหาของหน้าแรก (แนวทางที่ใช้ทั่วไปสำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ)
4. การกำหนด on-page signal และ heading tag
อย่างที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ heading tag ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำ on-page SEO ที่จะช่วยบอก Google ว่าหัวข้อหลักของหน้านั้นๆ เกี่ยวกับอะไร โดยเฉพาะ <h1> โดยปกติแล้ว heading tag จะใช้เพื่อแบ่งหัวข้อหลักและหัวข้อรองบนหน้าเว็บไซต์ โดยเรียงตามลำดับความสำคัญจาก <h1> ถึง <h6> โดย <h1> มักจะเป็นชื่อเรื่องที่มีตัวอักษรขนาดใหญ่ที่สุด
แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการเขียนหัวข้อหลัก:
ใช้ <h1> เพียง 1 อันต่อ 1 หน้า
แต่ละหน้ามี <h1> ที่ไม่ซ้ำกัน
<h1> ต้องมีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักของหน้า
ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการให้หน้าของคุณถูกค้นเจอเมื่อมีผู้ค้นหาคำว่า "นามบัตรออกแบบ" นั้น การสร้าง <h1> และ <h2> ก็ควรมีคำนั้นประกอบอยู่ด้วย
ลองดูตัวอย่างจาก Canva กันอีกครั้ง

คุณสังเกตได้ใช่ไหมว่าในหน้าการออกแบบนามบัตรนั้น มีการใช้ <h1> และ <h2> ที่ชัดเจน ซึ่งมีคีย์เวิร์ดหลักที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักของหน้า และมี <h1> เพียงแค่อันเดียวเท่านั้น ทำให้ search engine เข้าใจได้ง่ายว่าหน้าเว็บนั้นเกี่ยวกับอะไร
5. Breadcrumb สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
เว็บไซต์ใดก็ตามที่มีโครงสร้างเว็บที่ซับซ้อนหลายล้านหน้านั้น อาจดูเป็นเรื่องยากสำหรับ Google ในการรวบรวมข้อมูล รวมถึงระบุหน้าทั้งหมดที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ breadcrumb เป็นที่ต้องการสำหรับเว็บไซต์ เนื่องจาก Google ใช้ breadcrumb เพื่อช่วยหาลำดับชั้นของเว็บไซต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเว็บอีคอมเมิร์ซที่มักมีลำดับของหน้าต่างๆ ตั้งแต่ 3, 4 และ 5 อีกจำนวนมาก
ลองดูตัวอย่างจากเว็บไซต์ Amazon:

จากตัวอย่างนี้ breadcrumb จะอยู่ทางด้านซ้ายมือเหนือรูปภาพของเคสโทรศัพท์ Google Pixel 6 แสดงว่าหน้านี้อยู่ในหมวดหมู่ "เคส ที่จับมือถือ และซองใส่มือถือ" ซึ่งอยู่ในหน้า "โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม" คุณเห็นแล้วใช่ไหมว่าวิธีนี้ช่วยให้ Google กำหนดลำดับชั้นของเว็บไซต์นี้ได้อย่างดี
ความเข้าใจผิดทั่วไปเกี่ยวกับ SEO (ในมุมของนักออกแบบ)
Search engine optimization ยังคงถือเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ดังนั้น จึงอาจมีความเข้าใจผิดในบางประการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามาดูประเด็นที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดต่อการทำ SEO พร้อมกัน
1. คอนเทนต์แบบ accordion มีผลเสียต่อ SEO
คำตอบข้อแรกนี้คือไม่จริง เนื่องจากเนื้อหาแบบ accordion ไม่ได้ส่งผลเสียต่อ SEO แต่ยังทำให้การนำทางหน้าต่างๆ ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นและใช้งานได้ดีขึ้น รวมไปถึงยังช่วยจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณได้
2. ลิงก์จากโซเชียลมีเดียมีความสำคัญต่อ SEO
ที่จริงแล้วลิงก์จากโซเชียลมีเดียไม่มีความสำคัญสำหรับ SEO เลย แต่จะส่งผลดีสำหรับจำนวนการเข้าชมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากแหล่งอื่นๆ นอกเว็บไซต์ แต่ไม่ได้ช่วยให้การจัดอันดับค้นหาสูงขึ้นได้แน่นอน
3. หน้าแรกเป็นหน้า landing page เดียวที่สำคัญ
เมื่อพูดถึงการทำ SEO หน้าแรกไม่ใช่หน้าสำคัญเพียงหน้าเดียว ดังที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อมีการออกแบบโดยใช้แนวคิด SEO จะต้องทำทุกหน้าให้เหมือนเป็นหน้าแรกที่ผู้ใช้จะเห็นจากแบรนด์ของเรา ดังนั้น ทุกหน้าในเว็บไซต์จึงมีความสำคัญ
4. ขนาดตัวอักษรและระยะห่างมีความสำคัญโดยตรงต่อการจัดอันดับด้วย SEO
ขนาดตัวอักษรของเว็บไซต์ไม่มีผลกับ SEO เลย คุณสามารถสร้างหน้าด้วยขนาดแบบอักษรใดก็ได้ตั้งแต่ 10 ถึง 14 และไม่ถือว่าส่งผลใดๆ ต่อการทำ SEO แต่การที่เว็บไซต์อ่านง่ายจะส่งผลดีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้
5. ยิ่งมีคีย์เวิร์ดมากเท่าไร ก็ยิ่งได้อันดับสูงขึ้นจากคีย์เวิร์ดนั้นๆ
เรื่องนี้ไม่สำคัญว่าคุณใส่คีย์เวิร์ดในหน้าเว็บไซต์ของคุณมากเท่าไร แต่สิ่งสำคัญคือความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดเหล่านั้นที่คุณใช้กับคำที่ผู้ใช้ค้นหาว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่
6. Bounce rate, crop-off rate รวมไปถึง exit rate มีความสำคัญต่อ SEO
ไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อ SEO ซึ่ง Google ได้ปฏิเสธว่าทั้ง bounce rate, crop-off rate รวมไปถึง exit rate นั้นต่างก็ไม่สำคัญสำหรับ SEO
ติดต่อทีมงานของเรา
จะดีเพียงใดหากมีความสามารถในการทำงานกับทุกแผนกได้อย่างคล่องตัว ที่มอร์โฟซิส เราสนับสนุนการทำงานในหลากหลายทีมร่วมกัน ด้วยความแตกต่างอย่างลงตัวที่จะช่วยให้โปรเจกต์ต่างๆ หรือเป้าหมายที่เราตั้งไว้สู่ความมีประสิทธิภาพของผลงานและการจัดทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์แบบ
กว่า 15 ปีที่ผ่านมา มอร์โฟซิสคัดสรรทีมงานผู้มีความสามารถที่หลากหลายจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าหากร่วมงานกับเรา ไม่เพียงแค่ทำงานร่วมกับ account manager เท่านั้น แต่ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมจะช่วยเหลือคุณตลอดทั้งแคมเปญอีกด้วย
ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมแนวทางการเติบโตที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้แล้ววันนี้