บริการ User Story Mapping
user story คืออะไร
user story คือการอธิบายฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์ในเวอร์ชันที่เข้าใจง่ายขึ้นจากมุมมองของผู้ใช้จริงหรือผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้ใช้ ในกระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบ Agile นั้น เราจะนำ user story มาใช้ในการทำ backlog ของโปรเจกต์ เพื่อให้เข้าใจความต้องการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่มาจากผู้ใช้โดยตรง
user story mapping คืออะไร
user story mapping คือการนำ user story อันหลากหลายมาเรียบเรียงเป็นโมเดลที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะช่วยให้ทีมออกแบบและพัฒนาสามารถเข้าใจ pain point ที่สำคัญที่สุดของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น
เราเรียก user story หลายอันว่า epic โดยเราสามารถนำ epic มาจัดหมวดหมู่เพื่อเน้นถึงความต้องการใช้งานเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่มาจากมุมมองของผู้ใช้โดยตรงนั่นเอง
เมื่อทีมงานของมอร์โฟซิสจัดกลุ่ม user story แล้ว เราก็จะสามารถออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ตรงใจผู้ใช้มากที่สุด
user story มีความสำคัญต่อธุรกิจคุณอย่างไร
user story มีบทบาทสำคัญมากในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของธุรกิจคุณ
user story คือเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ของคุณ ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถนำมันมาจัดลำดับความสำคัญของงานในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของคุณตรงส่วนที่สำคัญที่สุดก่อน
และนี่คือประโยชน์หลัก 3 ข้อ ของการทำ user story mapping
1. ทำให้ทีมงานเข้าใจตรงกัน
ทีมงานที่เข้าใจตรงกันย่อมมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและเข้าใจเป้าหมายของทุกโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย
user story mapping ยังออกแบบมาเพื่อให้ทุกทีมในองค์กรมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น
developer
UX/UI designer
sales representative
business analyst
digital strategist
product marketer
และตำแหน่งอื่นๆ
เมื่อแต่ละทีมเข้าใจเป้าหมายและ requirement ของโปรเจกต์ตรงกันแล้ว พวกเขาก็จะสามารถเริ่มงานออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจคุณอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
2. มั่นใจได้ว่าแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์จะยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
คนเรามักจะเมินเฉยต่อผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เรามีจริงๆ ได้ การทำ user story mapping จะทำให้คุณมั่นใจว่าแผนงานนั้นมีการคำนึงถึงความคิดเห็นและความคาดหวังของผู้ใช้
ในเมื่อ user story mapping แสดงถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้ เราจึงสามารถโฟกัสได้ว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างไรให้มีคุณค่าและลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งจะนำไปสู่ผลตอบแทนอันยอดเยี่ยมของธุรกิจคุณ
นี่คือตัวอย่างประโยชน์ของการออกแบบโดยยึดผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง
ปิดการขายได้รวดเร็วกว่า: คนทั่วไปมักจะเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าได้ไม่ยากถ้าหากผลิตภัณฑ์ของคุณตอบโจทย์ของพวกเขา
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน: เผยให้เห็น pain point ของผู้ใช้ที่ช่วยทำให้คุณได้เปรียบคู่แข่ง
ลูกค้ามี brand loyalty มากขึ้น: ประสบการณ์ใช้งานที่ดีย่อมทำให้ลูกค้ามี brand loyalty ทั้งกับธุรกิจและแบรนด์ของคุณมากขึ้น
3. ใช้เวลาทำงานน้อยลง
การทำ user story mapping จะช่วยให้การสื่อสารและการทำงานร่วมกันภายในแต่ละทีมง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยให้รู้ว่าความต้องการใช้งานไหนจำเป็นต่อผู้ใช้จริงๆ ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการออกแบบและพัฒนาโปรเจกต์
การปรึกษาและเรียบเรียง user story card ด้วยกันจะช่วยให้คุณสามารถเรียงลำดับความสำคัญของการพัฒนาฟีเจอร์ที่สำคัญที่สุดต่อผู้ใช้ได้
ในที่สุดแล้ว สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนดีไซน์หรือแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ในภายหลัง เรียกได้ว่าประหยัดทั้งต้นทุนและเวลาไปในตัว
รูปแบบของ user story ที่ดีที่สุดคืออะไร
รูปแบบหรือเทมเพลตของ user story จะช่วยให้คุณสามารถสร้าง story ได้อย่างเป็นระบบ เพราะ story ที่แตกต่างกันหากอยู่ในรูปแบบเดียวกันจะจัดหมวดหมู่ได้ง่ายกว่า ซึ่งช่วยให้กระบวนการ user story mapping รวดเร็วขึ้นนั่นเอง
รูปแบบของ user story ที่ดีที่สุดนั้นมักประกอบด้วย 3 ส่วนต่อไปนี้
persona: บ่งบอกถึงตัวตนของผู้ใช้ที่ story พูดถึง
ความสามารถ: ความสามารถของผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ และเขียนบอกไว้ว่าทำอะไรได้บ้าง
ความพึงพอใจ: ความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถตอบสนองได้ด้วยศักยภาพของผลิตภัณฑ์
ยกตัวอย่างเทมเพลตของผู้ใช้ เช่น
“ในฐานะที่เป็น(ผู้ใช้) ฉันอยากได้(ความสามารถ)ที่จะทำให้ฉัน(ตอบสนองความต้องการบางอย่างได้)”
ยกตัวอย่างที่ละเอียดขึ้นจากกรณีศึกษาของโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ดังนี้
“ในฐานะที่เป็นคนไข้ ฉันอยากให้เราสามารถค้นหาแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยาด้วยช่องทางออนไลน์ได้ เพราะจะช่วยให้นัดหมายแพทย์ได้ง่ายๆ”
ตามที่คุณได้อ่านจากตัวอย่างข้างบน persona คือตัวตนของผู้ใช้ ส่วนความสามารถคือสิ่งที่ผู้ใช้อยากจะทำได้ และความพึงพอใจคือสาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้ต้องการความสามารถนั้นๆ
ลองอ่านตัวอย่างของ user story เพิ่มเติมได้ที่ กรณีศึกษาเกี่ยวกับ UX ของเรา
user story ที่ดีหน้าตาเป็นยังไง
หากคุณไม่เคยทำ user story มาก่อนอาจจะยากที่จะรู้ว่า user story ที่ดีหน้าตาเป็นยังไง ที่มอร์โฟซิส เราวางหลักเกณฑ์หนึ่งขึ้นมาเพื่อให้มั่นใจว่า user story ของเราจะมีประโยชน์และมีความเชื่อมโยงกัน หลักเกณฑ์นี้เรียกว่า INVEST ซึ่งย่อมาจากสิ่งต่อไปนี้
I (Independent): user story ไม่ควรพึ่งพา story อื่นๆ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในระหว่างการวางแผน
N (Negotiable): ทำให้เกิดการพูดคุยปรึกษากันเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนา
V (Valuable): ควรพูดถึงเป้าหมายของผู้ใช้ซึ่งมีประโยชน์และมีคุณค่า
E (Estimable): ควรมีข้อมูลในการประเมินความสำคัญของปัญหาของผู้ใช้มากพอ
S (Sized appropriately): ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป
T (Testable): user story ทั้งหมดต้องทดสอบได้ เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะประสบความสำเร็จและใช้งานได้ดี
หากทำตามหลักเกณฑ์ INVEST นี้แล้ว คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบของ user story ที่บางครั้งอาจถูกมองข้ามได้
6 ขั้นตอนของกระบวนการทำ user story mapping
คุณภาพของ user story เป็นตัวชี้วัดว่าโปรเจกต์นั้นๆ จะไปรอดหรือไม่ ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า user story คือหัวใจสำคัญของการมอบหมายทั้ง task และ subtask ให้กับทีมนักออกแบบและนักพัฒนา
ดังนั้น กระบวนการสร้าง user story ให้มีคุณภาพดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และเพื่อให้มั่นใจว่าเราสามารถสร้าง user story ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องได้ เราจึงได้กำหนด 6 ขั้นตอนของกระบวนการทำ user story mapping ขึ้นมา ดังนี้
1. เลือกเครื่องมือในการทำ user story mapping ที่เหมาะสม
โดยตามธรรมเนียมแล้ว UX designer จะใช้เครื่องมือแบบออฟไลน์ที่จับต้องได้จริงในการรวบรวมข้อมูลของ user story ซึ่งได้แก่
กระดาษโน้ตโพสต์อิท
ปากกาและดินสอ
กระดานไม้
แต่ปัจจุบันนี้มีเครื่องมือใหม่ๆ ในการทำ user story mapping มากมายเข้ามาแทนที่เครื่องมือดังกล่าว เช่น
เครื่องมือออนไลน์เหล่านี้ช่วยให้ทีมงานของเราสามารถร่วมกันจัดกลุ่ม user story ได้จากทุกมุมโลก ทั้งยังช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและติดตามผลการปรับแก้ของ user story map ได้ทุกเวอร์ชัน ทำให้เรามองเห็นภาพรวมของกระบวนการทำ user story ตั้งแต่ต้นจนจบได้อย่างชัดเจน
2. เข้าใจเป้าหมายของโปรเจกต์
ขั้นตอนต่อไป เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายสำคัญของโปรเจกต์เว็บไซต์และแอปพลิเคชันนั้นๆ ซึ่งเป้าหมายที่ว่านี้ผู้ใช้ต้องสามารถทำสำเร็จได้ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์นั่นเอง การรู้รายละเอียดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหลักของผลิตภัณฑ์จะช่วยให้เราสามารถเริ่มวางกรอบของ user story map ได้
คำถามที่อาจช่วยให้สร้างเป้าหมายของโปรเจกต์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
ปัญหาที่คุณต้องการจะสื่อคืออะไร
กลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร
ทำไมคุณถึงต้องการทำแบบนี้
การตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้เราไม่หลงทางตอนที่จัดกลุ่มส่วนต่างๆ ของ user story และมั่นใจว่าแต่ละแง่มุมของ story นั้นสามารถเชื่อมโยงกับเป้าหมายของโปรเจกต์ได้
ดังนั้น การทำความเข้าใจเป้าหมายของโปรเจกต์อย่างถ่องแท้จึงเปรียบเสมือนเข็มทิศในกระบวนการทำ user story mapping ที่จะนำเราไปสู่จุดหมายได้
3. สร้างแกนหลักของ user story
เมื่อเราเข้าใจเป้าหมายของโปรเจกต์ดีแล้ว เราก็สามารถเริ่มจัดกลุ่มขั้นตอนสำคัญที่ผู้ใช้จำเป็นต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายได้ ขั้นตอนเหล่านี้จะกลายเป็นแกนหลักของ user story ซึ่งสามารถขยายต่อไปได้ภายหลัง
เราขอยกตัวอย่างจากกรณีศึกษาของ Tablewear ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มประเภท marketplace ที่เชื่อมโยงผู้ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องแก้ว เจ้าของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และร้านอาหาร ไว้ด้วยกัน
เมื่อเป้าหมายคือการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์แบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดังกล่าว ขั้นตอนสำคัญที่ผู้ใช้ต้องทำให้สำเร็จจึงได้แก่
สมัครสมาชิก
ค้นหาสินค้าที่ต้องการ
เปิดดูหน้าสินค้านั้น
เปรียบเทียบสินค้านั้นกับสินค้าอื่นๆ
กรอกข้อมูลสำหรับชำระเงิน
เลือกวิธีการชำระเงิน
ชำระเงิน
เมื่อทำแบบนี้ เราก็จะสามารถสร้าง user story ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งทำให้เรารู้ว่างานสำคัญที่สุดที่ทีมนักออกแบบและนักพัฒนาต้องทำมีอะไรบ้าง
4. ขยายและจัดกลุ่ม user activities
การทำ user story mapping นั้น เราเรียกขั้นตอนหลักว่า activity ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสิ่งที่ต้องทำย่อยๆ ได้หลายรายการ
มาดูที่ตัวอย่างจาก Tablewear กันต่อ เรารู้แล้วว่า activity แรกคือการสมัครสมาชิก
ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็นรายการสิ่งที่ต้องทำได้ 4 รายการ จึงจะทำให้ activity นั้นสมบูรณ์ ได้แก่รายการต่อไปนี้
คลิกที่ปุ่มสมัคร
กรอกรายละเอียดส่วนตัว
คลิกยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัว
คลิกปุ่มยืนยัน
อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องสังเกตว่า activity บางอย่างนั้นอาจมีความซับซ้อนกว่าอันอื่น
ยกตัวอย่างเช่น ถ้า activity นั้นคือการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ อาจมีเส้นทางหรือตัวเลือกให้ผู้ใช้เลือกทำได้หลากหลายในการทำ activity นั้นให้สำเร็จ
นี่คือสาเหตุว่าทำไม user story map จึงต้องจัดการทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยมุมมองในแนวนอนจะแสดงให้เห็นความคืบหน้าของแต่ละ activity ที่จะนำไปสู่เป้าหมาย ในขณะเดียวกัน มุมมองแนวตั้งจะแสดงสิ่งที่ผู้ใช้สามารถทำได้ที่แตกต่างกันไปเพื่อให้ activity นั้นสำเร็จ
5. รีวิว user story map
เมื่อเราขยายและจัดกลุ่ม activity ที่แตกต่างกันของ user story map เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลารีวิว map ที่ได้เพื่อสร้าง task และ subtask ให้กับทีมงาน
ในช่วงที่รีวิวนี้ เราจะเชิญสมาชิกในทีมมาช่วยกันตรวจสอบ story และให้ฟีดแบ็กในประเด็นต่อไปนี้
ช่องว่างระหว่างขั้นตอนสำคัญ
รายละเอียดที่ขาดหายไปใน activity
user path และ user flow ที่ไม่สมจริง
task ขนาดใหญ๋ที่สามารถแบ่งออกเป็น subtask ได้
การสอบถามสมาชิกแต่ละคนในทีมเพื่อขอฟีดแบ็กจะช่วยให้เราสามารถประเมิน user story ของเราจากมุมมองที่แตกต่างกันได้ และได้เห็นสิ่งที่ควรปรับปรุงซึ่งเคยมองข้ามไปก่อนที่จะทำ map เสร็จ
6. สร้าง task และ subtask
ในที่สุด เราสามารถนำรายการสิ่งที่ต้องทำทั้งหลายใน user story map มาสร้าง task และ subtask ให้กับทีมงานแต่ละคนตั้งแต่ฝ่ายออกแบบ UX และ UI ไปจนถึงฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้
task เหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับความสำคัญได้ดังนี้
ทำได้: คือ task ที่สามารถทำได้แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มากนัก
ควรทำ: คือ task ที่จำเป็นต้องทำเพื่อลดปัญหาที่อาจส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ของผู้ใช้
ต้องทำ: คือ task ที่ต้องให้ความสำคัญเพราะก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลเสียร้ายแรงต่อผู้ใช้
ด้วยขั้นตอนสุดท้ายนี้ เราก็จะสามารถเปลี่ยน user story map ให้กลายเป็น task ที่สามารถลงมือทำได้สำหรับทีมออกแบบและพัฒนาของเรา ช่วยให้เราสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่เล็งเห็น pain point ของผู้ใช้ในแบบองค์รวมและมีความหมายอย่างแท้จริง
รู้จักทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา
ที่มอร์โฟซิส เราให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน UX/UI ทั้งการทำ user research การวางกลยุทธ์ การออกแบบ UX/UI การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และอีกมากมาย ทีมผู้เชี่ยวชาญของเราเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์
กระบวนการทำงานที่ lean และ agile ของเราในการออกแบบและวางกลยุทธ์ UX ทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา UX ในธุรกิจที่แตกต่างกันได้มากมาย
ลองเข้าไปอ่านราละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมงานของเราได้ที่หน้าเกี่ยวกับเรา
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการด้านการออกแบบ UX/UI ของเรา
เราให้บริการออกแบบ UX/UI ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าจากหลากหลายสาขาธุรกิจเพื่อพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันและเพิ่มผลกำไร
ไม่ว่าคุณกำลังมองหาบริการออกแบบ UX/UI หรือการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันอยู่ เราพร้อมช่วยคุณ
บริการของเราประกอบด้วย
บริการออกแบบ UX/UI
และอื่นๆ อีกมากมาย
เข้าชมหน้าบริการหลักของเราวันนี้ เพื่อดูว่าเราจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นได้อย่างไร