ทำความเข้าใจ technical SEO ภายใน 5 นาที
หากคอนเทนต์ที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์คือนักแสดงบนเวที technical SEO ก็คงจะเป็นทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังอย่างไรอย่างนั้น เช่นเดียวกับที่ช่างเทคนิคด้านแสงสีเสียงให้เวลานักแสดงได้โดดเด่นท่ามกลางแสงสปอตไลต์ technical SEO ก็ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอนเทนต์ในหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์และสัมผัสประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น
บทความนี้จะครอบคลุมเรื่องพื้นฐานของ technical SEO โดยในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในบริษัท SEO ชั้นนำของกรุงเทพฯ เราจะแนะนำคุณเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของหน้าเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงบางสิ่งบางอย่างที่คุณควรระมัดระวังเอาไว้หากคุณต้องการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
Technical SEO คืออะไร?
Technical SEO หมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคนิคของเว็บไซต์เพื่อช่วยเพิ่มอันดับในหน้าผลลัพธ์ของ search engine เช่น Google
สิ่งนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้และโปรแกรมรวบรวมข้อมูลที่เรียกว่า crawler สามารถเข้าถึงได้ง่าย ซึ่ง technical SEO นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ หมายความว่าหากคุณจัดการองค์ประกอบต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โอกาสที่เว็บไซต์ของคุณจะติดอันดับในหน้าแรกของ Google ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น
คุณอาจสงสัยว่าเราหมายถึงอะไรเมื่อพูดถึง crawler ของ search engine เพื่อให้คุณเข้าใจ เราจะลองยกสิ่งที่ Google ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
ก่อนที่เว็บไซต์ของคุณจะขึ้นไปติดอันดับในหน้าแรกของ Google ได้นั้น bot หรือเจ้าตัว crawler ของ Google จะต้องสามารถเข้ามาที่เว็บไซต์และรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทำการ index หรือเก็บข้อมูลเว็บไว้ในฐานข้อมูลให้ได้เสียก่อน โดยคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของการรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนี (index) ของ Google ได้ที่นี่
ตัวอย่างของปัญหา technical SEO ที่พบได้บ่อยคงหนีไม่พ้นเรื่อง internal link โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเว็บไซต์ของคุณมีลิงก์เสียจำนวนมากภายในหน้าต่างๆ ก็อาจทำให้ crawler ไม่สามารถเข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลได้ตามปกติ และยังทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์โดยรวมที่ไม่ดีอีกด้วย
หากคุณพบว่าตัวเองกำลังหลงทางและต้องการรู้ว่า SEO คืออะไร เราก็มีคำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจในเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
ทำไม technical SEO ถึงมีความสำคัญมาก?
ไม่มีใครที่ชอบเห็นเว็บไซต์ที่ตัวเองต้องการเข้าใช้งานขึ้นตัวเลข 404 พร้อมข้อความเมื่อพยายามเข้าถึงหน้าเว็บนั้นแน่ๆ เพราะแม้แต่ bot ที่เข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลของ search engine ก็ไม่ชอบเหมือนกัน
ส่วนหนึ่งของ technical SEO คือการทำให้แน่ใจว่าสิ่งนี้จะต้องไม่เกิดปัญหาขึ้นโดยเฉพาะเมื่อเป็นสิ่งที่สำคัญและส่งผลกระทบตามมาหากมีปัญหาเกิดขึ้น
การตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถนำทางได้อย่างราบรื่น รวมทั้งการลดจำนวนลิงก์เสีย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ bot สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่ดีและชัดเจนที่สุดก็คือวิธีการที่ crawler เข้าใจเว็บไซต์ ซึ่ง Google มี bot ที่ "รวบรวมข้อมูล" ผ่านเว็บไซต์เพื่อประเมินหน้าเว็บนั้นๆ
สมมติว่ามีหน้าหนึ่งในเว็บไซต์ที่ bot พบ แต่ว่าต้องทำการคลิกมากถึง 8 ลิงก์เพื่อไปยังหน้าหลัก bot จะประเมินคะแนนหน้านั้นต่ำลงและทำให้หน้านี่ถูกเลื่อนตกไปอยู่ที่อันดับ 11 ของผลการค้นหาบน Google
โดยทั่วไปแล้วมีคนน้อยมากที่จะค้นหาสิ่งที่ต้องการบน Google ไปไกลขนาดนั้นด้วยความตั้งใจ ซึ่งนั่นทำให้ยอดผู้เข้าชมไซต์น้อยลงทันทีโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับว่าเนื้อหาในนั้นจะดีเพียงใด เพราะในความเป็นจริงแล้วมีผู้ใช้น้อยกว่า 1% ที่คลิกดูผลลัพธ์ที่พบในหน้าที่สอง
ที่แย่ไปกว่านั้น มีบางเว็บไซต์ที่ใช้เวลาหลายนาทีในการโหลดจนสามารถแสดงผลและใช้งานได้เต็มที่ 100% บ้างก็มีลิงก์ที่คลิกไปแล้วทำงานไม่ถูกต้อง หรือมีคอนเทนต์บางอย่างที่ไม่สามารถดูบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ และอาจถึงขั้นมีหน้า landing page ที่ซ้ำกันถึง 3 หน้า จนแย่งอัตราการคลิกเข้าเยี่ยมชม (clickthrough rate) ด้วยกันเอง
เรารู้ดีว่าปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการให้เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ของคุณแน่ๆ
9 สิ่งที่ต้องระวังในการตรวจสอบ teachnical SEO
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่ออันดับและประสิทธิภาพที่ดีของเว็บไซต์ โดยต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องทำการตรวจสอบในเรื่องของ technical SEO
1. Robots.txt
เจ้าไฟล์ robots.txt มีหน้าที่เหมือนกับชื่อของมัน นั่นก็เพราะว่าเจ้าไฟล์นี้จะเป็นตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์เพื่อให้ bot เข้ามารวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ รวมถึงกำหนดว่าส่วนใดที่สามารถเข้าไปได้บ้าง
ความสำคัญของ robots.txt ก็คือเพื่อทำให้แน่ใจว่า bot สามารถรวบรวมข้อมูลของไซต์ที่สำคัญได้ครบถ้วน หากกำหนดโค้ดไม่ถูกต้อง bot ก็จะไม่สามารถเข้าถึงไซต์ได้ ซึ่งจะทำให้ Google มองไม่เห็นคีย์เวิร์ดและคอนเทนต์ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของคุณนั่นเอง
คุณยังสามารถกำหนดว่าส่วนไหนของเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการให้ bot เข้ามาเก็บรวบรวมข้อมูลได้อีกต่างหาก และหากคุณอยากรู้ว่า robots.txt ที่มีอยู่ทำหน้าที่ได้ถูกต้องหรือไม่ เราก็มีเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบให้คุณเอง
2. XML sitemap
XML sitemap เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ bot เข้ามารวบรวมผ่านไซต์ของคุณ โดยสิ่งนี้จะบอกโปรแกรมรวบรวมข้อมูลถึงสิ่งสำคัญที่อยู่ในไซต์ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมโยงกันของแต่ละหน้าเว็บ รวมถึงข้อมูลต่างๆ เช่น ความถี่ในการอัปเดตหน้าเว็บแต่ละหน้า เป็นต้น
XML sitemap จะมีประโยชน์มากที่สุดเมื่อ:
เว็บไซต์มีขนาดใหญ่มาก
เว็บไซต์มีรูปภาพและวิดีโอเป็นจำนวนมาก
เว็บไซต์ไม่ได้มีการทำ internal link ที่ดีพอ
เว็บไซต์เพิ่งเปิดใหม่และยังไม่ได้มีเว็บอื่นทำ external link มาที่เว็บ (เรียกว่าการทำ backlink)
3. ความเร็วในการโหลด
ความเร็วที่ผู้ใช้โหลดเว็บไซต์ของคุณถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของ technical SEO ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อสิ่งนี้
หากเว็บของคุณมีความเร็วต่ำ ผู้ใช้จะต้องใช้เวลานานในการโหลดหน้าเว็บที่พวกเขาต้องการใช้งาน ส่งผลให้ผู้ใช้เลือกที่จะออกจากเว็บไซต์ของคุณเพื่อไปยังเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ Google ยังคำนึงถึงความเร็วของเว็บไซต์เมื่อทำการจัดอันดับเว็บไซต์ด้วย เพราะยิ่งเว็บไซต์ตอบสนองได้เร็วเท่าไร bot ก็จะให้คะแนนเว็บไซต์ของคุณดีขึ้นเท่านั้น
โดยต่อไปนี้คือสิ่งที่ส่งผลต่อความเร็ว ลองตรวจสอบดูว่าเว็บไซต์ของคุณมีสิ่งเหล่านี้มากเกินไปหรือไม่
การใช้งาน CSS และ JavaScript: หากเว็บไซต์ของคุณมีการใช้งาน script มากเกินไปก็จะทำให้การโหลดหน้าต่างๆ ในเว็บช้าลง
โฮสต์เซิร์ฟเวอร์: ความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ส่งผลโดยตรงต่อความเร็วสูงสุดในการโหลดของเว็บไซต์
ปลั๊กอิน: กรณีที่มีปลั๊กอินติดตั้งบนเว็บไซต์มากเกินไปก็จะทำให้หน้าเว็บโหลดได้ช้าลง
โค้ดไม่สมบูรณ์: การเขียนโค้ดที่ไม่ดีจะทำให้เว็บไซต์โหลดได้ช้าหรืออาจถึงขั้นเว็บหยุดทำงาน ในทางกลับกันหน้าเว็บที่มีโค้ดน้อยและเขียนโค้ดได้ดีจะให้ทุกอย่างทำงานได้อย่างราบรื่น
4. คอนเทนต์ที่ซ้ำกัน
Duplicate content คือหน้าคอนเทนต์ที่ซ้ำหรือมีความคล้ายกับหน้าที่มีอยู่แล้วในเว็บไซต์ ซึ่งหน้าที่ซ้ำกันนี้จะทำแข่งขันกันเองกับหน้าหลักเมื่อ bot ของ search engine ได้เข้ามาทำ index รวมถึงยอดเข้าชมที่ถูกแบ่งไปยังแต่ละหน้าที่เหมือนกันอีกด้วย
นั่นหมายความว่าหน้าที่ซ้ำกันทั้งหมดจะแข่งขันกัน และท้ายที่สุดก็ทำให้หน้าเว็บที่ซ้ำเหล่านั้นมีประสิทธิภาพที่ลดลง ซึ่งปัญหานี้พบได้บ่อยในการตั้งค่าและการทำ index ให้กับ URL ของหลายๆ หน้าเว็บ โดยด้านล่างนี้คือตัวอย่างบางส่วนที่พบได้
เปิดเผยไดเรกทอรี index.php
เมื่อเว็บไซต์เปิดเผยไดเรกทอรี index.php อาจทำให้เกิดปัญหาคอนเทนต์ซ้ำกันได้ ตัวอย่างเช่น URL ทั้งสองนี้จะมีเนื้อหาเหมือนกันแม้ว่าจะเป็นหน้าที่แยกจากกันแล้วก็ตาม
ไม่ redirect ไปยัง URL ที่ถูกต้อง
คอนเทนต์ที่ซ้ำกันอาจเกิดได้เมื่อการกำหนดรูปแบบต่างๆ ของ URL ไม่ได้กำหนดให้มีการ redirect ไปยังหน้านั้นด้วยการทำ canonical tag ตัวอย่างเช่น สอง URL ด้านล่างนี้
การตรวจสอบว่ามีคอนเทนต์ที่ซ้ำกันบนเว็บไซต์นั้นควรทำเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณได้อัปเดตหรือเพิ่มหน้าใหม่บนเว็บไซต์ของคุณ
5. ใบรับรอง SSL
ใบรับรอง SSL เป็นสิ่งที่อนุญาตให้เว็บไซต์ใช้รหัสสถานะ HTTPS ซึ่ง Google bot จะนำมาพิจารณาและส่งผลต่อการจัดอันดับของเว็บ โดย HTTPS ก็คือรูปแบบที่ปลอดภัยของ HTTP ซึ่งถูกแท็กโดยเว็บเบราว์เซอร์จำนวนมากว่า 'ไม่ปลอดภัย' และอาจขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นๆ
นอกจากนี้ ใบรับรอง SSL จะช่วยปกป้องเว็บไซต์จากการโจมตีต่างๆ เช่น spoofing และการปลอมแปลงเว็บไซต์
ดังนั้นจึงเป็นการดีและปลอดภัยกว่าในการใช้ HTTPS หากคุณต้องการให้หน้าเว็บไซต์ของคุณแสดงอยู่ในผลลัพธ์หน้าแรกเมื่อทำการค้นหาผ่าน Google นั่นก็เพราะว่าเว็บไซต์ที่มี HTTPS จะถูกให้คะแนนและจัดอันดับสูงเป็นพิเศษ
6. โครงสร้างข้อมูลที่เป็นระบบ
Structured data หรือข้อมูลที่จัดเก็บไว้โดยมีโครงสร้างที่เป็นระบบจะช่วยให้ search engine เข้าถึงและเข้าใจเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อจำนวนผู้ใช้ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การแสดงราคาสินค้าและการให้คะแนนในคำอธิบายของผลการค้นหา
การกำหนดให้หน้าเว็บต่างๆ มีสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ search engine เข้าใจและแสดงผลลัพธ์เมื่อมีผู้ใช้ทำการค้นหาสามารถทำได้ที่ schema.org ในรูปแบบของ JSON-LD ที่ Google เลือกใช้อยู่ในปัจจุบันและจะไม่ส่งเสียต่อเว็บไซต์ของคุณ
การทำให้เว็บไซต์ของคุณมีโครงสร้างของข้อมูลที่เป็นระบบจะช่วยให้มีโอกาสติดอยู่ในตำแหน่งบนสุดหรือ feature snippets เมื่อมีใครสักคนค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับคุณในหน้าแสดงผลลัพธ์การค้นหา
7. เว็บไซต์ที่ใช้งานได้ดีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากที่เข้าถึงและอ่านคอนเทนต์ผ่านอุปกรณ์พกพา เช่น มือถือและแท็บเล็ต มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้เว็บไซต์ของคุณจึงต้องสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายจากอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งก็สอดคล้องกับการที่ Google ได้ประกาศนโยบายเกี่ยวกับการทำ mobile-first index ที่จะปรับตั้งค่าให้ Google bot ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีเว็บไซต์ของคุณในเวอร์ชันที่ใช้งานผ่านมือถือ
วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานผ่านมือถือหรือไม่ ก็คือ การเข้าถึงจากอุปกรณ์พกพา หรือ ใช้โปรแกรมจำลองการใช้งานบนมือถือ นั่นเอง
มีหลากหลายวิธีในการทำให้เว็บไซต์ของคุณมอบประสบการณ์อันน่าจดจำเมื่อใช้งานผ่านมือถือและแท็บเล็ต โดยแต่ละวิธีล้วนมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ซึ่งนี่คือตัวอย่างของสิ่งที่คุณสามารถทำได้
สร้างเว็บไซต์สำหรับมือถือ: เว็บไซต์ที่มี m. ด้านหน้ามักจะระบุว่าเป็นเวอร์ชันสำหรับมือถือ
Responsive web app: การสร้างแอปฯ แยกหรือ progressive app สำหรับการเข้าถึงเว็บไซต์จากอุปกรณ์เคลื่อนที่
การออกแบบ responsive web: การออกแบบเว็บไซต์ที่ลื่นไหลและยืดหยุ่นช่วยให้สามารถพัฒนาเว็บไซต์ที่ปรับให้เหมาะกับหน้าเว็บเบราว์เซอร์ได้ทุกขนาด
บ่อยครั้งที่มีการใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันเพื่อทำให้การเข้าถึงและการนำทางมีความลื่นไหลสำหรับผู้ใช้งานผ่านมือถือ
8. ลงทะเบียนเว็บไซต์ของคุณกับ Google
แม้คุณจะพัฒนาเว็บไซต์ที่มีความสวยงามมากและเพิ่งได้เริ่มใช้งานจริง แต่ Google bot ต้องใช้เวลาสักพักเพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณ แทนที่จะรอให้เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนเพื่อให้ bot เข้ามาทำ index และเก็บข้อมูลต่างๆ ของเว็บ คุณสามารถเร่งกระบวนการนี้ได้ด้วยการสื่อสารกับ Google โดยตรง
คุณสามารถลงทะเบียนและยืนยันเว็บไซต์ของคุณบน Google Search Console จากนั้นส่งแผนผังของเว็บไซต์มาพร้อมกัน
นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีนั่นก็คือการใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ของ Google ที่จะช่วยให้คุณดึงข้อมูลและขอการจัดทำ index สำหรับ URL แต่ละรายการได้
9. ลิงก์มีปัญหา
ลิงก์เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในการช่วยให้เว็บไซต์ของคุณเข้าผู้ใช้ได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้ไปยังส่วนอื่นๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ของคุณได้ โดย internal link มีส่วนสำคัญในการนำทาง ส่วนหน้า landing page จะต้องมีลิงก์จำนวนมากเพื่อทำให้มั่นใจว่าผู้ใช้จะสามารถคลิกเพื่อเข้าถึงทุกหน้าที่อยู่ในเว็บไซต์ได้
ทว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อบางลิงก์ทำงานได้ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าและออกจากบางหน้าได้ และปัญหาลิงก์เสียที่พบได้บ่อยก็มีดังนี้
ลิงก์เสีย: ข้อผิดพลาด 404 เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด กล่าวคือลิงก์ที่นำผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บต่างๆ ถูกลบหรือมีการย้ายไปที่อื่น ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้อย่างง่ายดายด้วยตัวตรวจสอบลิงก์ที่ไม่ทำงาน
Nofollow internal link: ลิงก์ที่มีคุณลักษณะ nofollow จะไม่ส่ง PageRank ซึ่งหมายความว่าหาก internal link ใดมีคุณลักษณะ nofollow หลายๆ หน้าในเว็บไซต์ของคุณก็อาจสูญเสียอันดับการค้นหาแบบออร์แกนิก
มาเริ่มทำ technical SEO กับเรา
เราเชื่อว่าคุณคงคุ้นเคยกับ technical SEO บ้างไม่มากก็น้อย หากคุณต้องการเข้าใจแบบเจาะลึกมากกว่านี้ นี่คือคำแนะนำเกี่ยวกับ technical SEO เพราะเราเข้าใจดีว่าเรื่องนี้มันยากเมื่ออ่านและทำความเข้าใจในครั้งแรก โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการเรียนรู้เพื่อจะนำไปปรับใช้กับเว็บไซต์ของคุณเอง
ที่ Morphosis เรายินดีให้คำปรึกษาและมีบริการ SEO โดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง คุณสามารถติดต่อเพื่อพูดคุยกับเราได้สบายใจในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น technical SEO, การทำ keyword research, การทำคอนเทนต์สำหรับ SEO, และกลยุทธ์ UX ที่คุณกำลังประสบปัญหาอยู่ในตอนนี้