การลดช่องว่างของทักษะด้านการออกแบบ UX ในประเทศไทย
ประเทศไทยนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของชายหาดที่งดงามและเต็มไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่ ทั้งยังมีโครงสร้างของระบบการศึกษาที่ดี โดยมีสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมากกว่า 170 แห่งในปี 2020 ซึ่งระบบอุดมศึกษาของไทยนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อแรงงานในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความน่ากังวลตรงโครงสร้างหลักสูตรและการปฐมนิเทศของสถาบันเหล่านี้ แม้ว่าทั่วโลกจะมีนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบการสอนด้านเทคโนโลยีของประเทศไทยในระดับอุดมศึกษาก็ยังมีจุดบกพร่องอยู่ เนื่องจากมีประชากรเพียง 1% เท่านั้นที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดิจิทัล ในขณะที่ 72% นั้นไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านดิจิทัลเลย
สถิติบ่งบอกเรื่องนี้ได้ดี
แม้ว่าสถิติเกี่ยวกับ UX โดยเฉพาะจะหายาก แต่หากเราดูกันที่วงการไอทีและเทคโนโลยีโดยรวมของประเทศไทย ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
จำนวนคนที่จบการศึกษาด้านเทคโนโลยีต่ำ
จากการวิจัยในปี 2020 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า มีผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยไทยเพียง 12% เท่านั้นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านไอทีและสายงานที่เกี่ยวข้อง
ความต้องการของคนทำงานด้านเทคโนโลยีสูงขึ้น
ในขณะเดียวกันธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทยนั้นเติบโตขึ้น 20% พร้อมด้วยความต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้นเรื่อย รวมถึงตำแหน่ง UX researcher และ designer
จากข้อมูลของ JobsDB ปี 2022 ธุรกิจไอทีเป็นธุรกิจที่ประกาศรับสมัครงานหาคนทำงานไอทีมากที่สุด คิดเป็น 19.1% ของทั้งตลาดงานในประเทศไทย นอกจากนั้นงานสายไอทียังเป็นสายงานที่มีอัตราเงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดอีกด้วย แต่กลับสวนทางกับตัวเลขของผู้สมัครงานสายนี้ที่กระจุกตัวอยู่ในธุรกิจการผลิต โดยมีจำนวนแค่ 5.7% ของทั้งตลาด
แรงงานที่มีทักษะหายาก
การสำรวจตลาดแรงงานไตรมาสที่ 2 ของปี 2023 ด้วย Big Data ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่าทักษะที่ต้องการในตำแหน่งงานสายไอทีมากที่สุดสามอันดับแรกคือ ทักษะภาษาคอมพิวเตอร์, เฟรมเวิร์กการพัฒนาซอฟต์แวร์, และเทคโนโลยีคลาวด์ อย่างไรก็ตาม ทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการออกแบบการใช้งาน ก็ถือว่าเป็นที่ต้องการของตลาดเช่นกัน โดยแต่ละตำแหน่งงานนั้นต้องการทักษะเหล่านี้มากกว่า 1 ทักษะ
จากผลการสำรวจเกี่ยวกับ digital transformation ของ Deloitte ในประเทศไทย เมื่อปี 2020 พบว่าทักษะด้านดิจิทัลที่สำคัญและหายากที่สุดบางอย่างนั้นคือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน นักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติ และ UX designer
การลดช่องว่างของทักษะด้านดิจิทัลในประเทศไทย
การพยายามแก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะด้านดิจิทัลของมหาวิทยาลัยไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือการเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับการออกแบบ UX สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีหลากหลายหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาที่เพิ่งเข้าไปยังมหาวิทยาลัยเหล่านี้จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะด้าน UX จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดังกล่าวมากขึ้น ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มหาวิทยาลัยไทยเปิดสอนให้แก่ผู้ที่จะกลายเป็น UX designer รุ่นใหม่อยู่นี้ ก็มีคน Gen Z และ millennial ที่เข้าไปทำงานอยู่ในบริษัทต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นเรื่องยากที่คนเหล่านี้จะกลับเข้าไปสู่ระบบการศึกษาแบบทางการได้
แม้ว่าภาระของการลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัลนั้นจะตกอยู่กับมหาวิทยาลัยในไทย แต่บริษัทเอกชนก็สามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญได้เช่นกัน บริษัทเหล่านี้สามารถเข้ามาเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยในการเปิดหลักสูตรเฉพาะทาง, เสนอโอกาสในการฝึกงาน, หรือจัดเวิร์กช็อปได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสแบบไหนก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนั้น
นอกจากนี้ บริษัททั้งหลายไม่ควรจำกัดโอกาสในการรับสมัครคนเข้าไปทำงานด้าน UX โดยดูจากประกาศนียาบัตรเท่านั้น มีหลักสูตรมากมายช่วยสร้างแนวคิดที่จำเป็นต่อการทำงานด้านการวิจัยและออกแบบ UX ให้นักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคนที่เรียนสาขาออกแบบภายใน, สถาปัตยกรรม, หรือวิศวกรรม ตราบใดที่คนคนนั้นมีแรงผลักดันที่จะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะใหม่ๆ เขาก็สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกอีกคนในทีมของคุณได้
พัฒนาแบบก้าวกระโดดกับ Morphosis
คุณอ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกอยากเข้ามาเติมเต็มช่องว่างและสร้างผลงานฝากไว้ในอุตสาหกรรม UX บ้างไหม ที่ Morphosis เราเชื่อว่าศักยภาพนั้นไม่ใช่แค่เรื่องที่คุณรู้ แต่อยู่ที่คุณเรียนรู้และปรับตัวได้เร็วแค่ไหนมากกว่า
ไม่ว่าตอนไหนคุณจะมีทักษะระดับไหนอยู่ หากคุณมีความมุ่งมั่นในเรื่องของ UX เราพร้อมช่วยฝึกฝนคุณให้กลายเป็นยอดนักออกแบบบริการดิจิทัลในอนาคตได้
สมัครงานกับเรา แล้วเริ่มการเดินทางไปในโลกของ UX ที่น่าตื่นใจได้เลย