ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือแบบ agile
ประเด็นที่น่าสนใจ
การพัฒนาตามหลัก Agile มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านในวงจรชีวิตของแอปพลิเคชันมือถือ
บริษัทที่พัฒนาแอปพลิเคชันมือถือสามารถพัฒนาแอปฯ ที่ยั่งยืนและแข็งแกร่งได้อย่างมีคุณภาพสูงสุดด้วยแนวคิด Agile
Agile ช่วยธุรกิจในการแก้ปัญหาจากโปรเจกต์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาด้านการเงิน การคาดคะเนปัญหา และอื่นๆ
Agile ช่วยในด้านความสม่ำเสมอของการอัปเดตและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อมอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่ไม่เคยมีมาก่อน
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีมือถือที่เติบโตอย่างคงที่แล้ว คงอดนึกไม่ได้ว่าอุปสงค์ของการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือก็พุ่งขึ้นสูงเช่นเดียวกัน การแข่งขันที่มีความกดดันสูงส่งผลให้เกิดความต้องการของขั้นตอนพัฒนาแอปฯ ที่มีประสิทธิภาพและน่าไว้วางใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นและทำงานอัตโนมัติมากขึ้นได้นั้น ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่างก็หันมาใช้แนวคิด Agile กันหมด
ก่อนที่จะเจาะลึกไปมากกว่านี้ เรามาดูกันว่าแนวคิด Agile คืออะไร และเหตุผลว่าทำไมคุณควรใช้ Agile ในการสร้างแอปพลิเคชันมือถือ
Agile methodology คืออะไร
แนวคิด Agile ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในแอปพลิเคชันหลายชนิด จากการสร้างแอปฯ เดสก์ท็อปไปจนถึงแอปฯ มือถือ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่แอปพลิเคชันเหล่านี้ต้องใช้ความร่วมมือจากทีมนักพัฒนาหลากหลายทีมในทุกๆ ขั้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ทีม front-end ไปถึง back-end และ quality assurance
สำหรับธุรกิจของคุณแล้ว แนวคิด Agile จะช่วยบอกข้อควรปฏิบัติและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ไว้ล่วงหน้า ในการพัฒนาแอปฯ มือถือ แนวคิด Agile ในด้านการดีไซน์จะโฟกัสในเรื่องของกลยุทธ์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ ความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการความเสี่ยง และการประเมินโดยทั่วไป หลังจากนั้น ทางทีมพัฒนาจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
การทำงานให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้นสามารถนำแนวคิด Agile ที่มีหลากหลายประเภทมาใช้ได้ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีส่วนคล้าย ทว่าต่างกันโดยสิ้นเชิง
Agile Methodology Frameworks
แนวคิด Agile มีด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่
Scrum – คือแนวปฏิบัติที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและถูกนำไปใช้ในธุรกิจหลายๆ เจ้า ซึ่ง scrum จะเน้นในเรื่องของความเป็นหนึ่งเดียวและการพัฒนาคุณภาพ รวมถึงช่วยทีมในด้านการสื่อสารและทำงานร่วมกันเพื่อกำจัดปัญหายากๆ ได้อีกด้วย
Kanban – สามารถช่วยทีมในกระบวนการสร้างมูลค่า ผ่านการสร้างสรรค์เวิร์กโฟลว์ให้เป็นรูปเป็นร่างและการตั้งขีดจำกัดสำหรับ work in progress (WIP) ด้วยเครื่องมือ kanban ธุรกิจใดๆ ก็ตามจะสามารถทำกระบวนการให้เป็นระบบและปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน
Extreme Programming (XP) – คือแนวคิดสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่มักเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ เป้าหมายของ XP คือการช่วยติดตามและประเมินผลในส่วนของการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ถูกดำเนินไปเรื่อยๆ ระหว่างโปรเจกต์
Adaptive Project Framework (APF) – แนวคิด APF ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างโปรเจกต์ เมื่อต้องดำเนินการในโปรเจกต์ที่ถูกพัฒนาเรื่อยๆ ลูกทีมควรใช้วิธีการหลายๆ แนวและทบทวนผลที่ได้เพื่อการเรียนรู้ระหว่างโปรเจกต์
เฟรมเวิร์กเหล่านี้มีส่วนคล้ายกันคือการเน้นการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ lean เพื่อช่วยในการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพอย่างมีประสิทธิผล เฟรมเวิร์กที่กล่าวมานั้นจะถูกใช้งานในรูปของ sprint ในขั้นตอนการวางแผน ซึ่งจะช่วยระบุตั้งแต่เริ่มแรกว่ามีงานไหนบ้างที่ต้องนำส่งมอบ แต่ sprint คืออะไร เรามาดูกันขั้นตอนแรกๆของแนวคิด Agile กันเลย
Sprint คืออะไรในแนวคิด Agile
เมื่อต้องพัฒนาแอปฯ มือถือด้วยแนวคิด Agile งานใหญ่ๆ จะถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ส่วนย่อยซึ่งเรียกว่า sprint หรือ iteration โดยในแต่ละ sprint จะเน้นไปที่การพัฒนาฟีเจอร์ในแอปพลิเคชันมือถือที่ต่างกัน
โดยปกติแล้ว การทำให้ sprint เสร็จสมบูรณ์จะใช้เวลาประมาณสิบวันถึงสองอาทิตย์ และเมื่อ sprint เสร็จสิ้นแล้ว โปรโตไทป์จะถูกส่งไปยังเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือลูกค้า เมื่อได้รับการรับรองจาก product owner (ลูกค้า) แล้วเตรียม sprint ต่อไปและเริ่มทำงาน
ข้อสำคัญหลักในต่อไปนี้คือแผนงานของ sprint ในแนวคิด Agile โดยทั่วไป:
วางแผน: ขั้นตอนแรกเริ่มด้วยการประชุมสำหรับการวางแผน sprint ซึ่งจะจับจุดและวางความสำคัญได้ว่าองค์ประกอบใน sprint อันไหนมาก่อน จากนั้นผู้จัดการโปรเจกต์จะแจกจ่ายงานให้กับลูกทีมโดยเรียงความสำคัญตามความเร่งด่วน
พัฒนา: ปฏิบัติตามการวางแผน sprint ที่ถูกแบ่งให้แต่ละทีม ซึ่งทีมพัฒนาจะเริ่มโปรเจกต์โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับแนวทางที่วางไว้
ทดสอบ / QA: การทดสอบและบันทึกผลการพัฒนาอย่างละเอียดจะถูกปฏิบัติก่อนส่งต่อ sprint ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งในส่วนนี้ ทีมเทสเตอร์จะเริ่มการทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะส่งโปรโตไทป์ไปยัง product owner
ส่งมอบ: แอปฯ จะถูกส่งมอบไปยัง product owner และส่งต่อไปยังผู้ใช้เมื่อทดสอบโปรโตไทป์เสร็จสิ้นแล้ว
ประเมิน: เก็บรวบรวมรีวิวและฟีดแบ็กจากผู้ใช้งานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำการปรับปรุงแก้ไข และรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ใน sprint อันต่อไป
นอกจากขั้นตอนการวางแผน sprint แล้ว ทั้งทีมจะจัดการประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูผลลัพธ์ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และควบคุมให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนงาน
เหตุผลที่คุณควรใช้แนวคิด Agile ในกระบวนการพัฒนาแอปฯ มือถือ
จุดโฟกัสหลักของนักพัฒนาแอปฯ มือถือในปัจจุบันคือการนำเสนอคอนเทนต์คุณภาพสูงให้กับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม คุณภาพระดับนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องมองถึงอุปสรรคหลายๆ อย่างเสียก่อน นี่คือส่วนที่แนวคิด Agile จะถูกนำมาใช้
ต่อไปนี้คือเหตุผลว่าทำไมคุณควรใช้ Agile ในการพัฒนาแอปฯ มือถือ:
1. ยกระดับคุณภาพสินค้าด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง
แนวคิด Agile สำหรับการพัฒนาแอปฯ มือถือประกอบไปด้วยการทดสอบระหว่างขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งจะทำให้คุณมั่นใจได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นว่าแอปฯ นั้นจะใช้งานได้ดี และจะการันตีได้ว่าผลที่ได้จะมีคุณภาพที่สูงยิ่งขึ้นเมื่อพร้อมสำหรับเปิดตัวแอปฯ
นอกจากนี้ การจับจุดที่ควรปรับปรุงได้ในระยะเริ่มต้นจะช่วยคุณเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการแก้หลังเปิดตัวแอปฯ ไปแล้ว ทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวมในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือได้ด้วย เมื่อต้องบรรลุเป้าหมาย นักพัฒนา ดีไซเนอร์ เทสเตอร์ และนักวิจัยคุณภาพทุกคนจะทำเต็มที่เพื่อนำทักษะ ประสบการณ์ และความรู้มาใช้เพื่อคุณภาพที่สูงที่สุดของแอปฯ มือถือ มีเพียงแนวคิด Agile เท่านั้นที่จะการันตีสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากวิธีการเก่าๆ ไม่สามารถมีความหลากหลายเท่านี้ได้
2. ความยืดหยุ่นสูง
เทคโนโลยีมีวิวัฒนาการอยู่เสมอ ซึ่งหมายความว่าหากกระบวนการพัฒนาแอปฯ ยังตามไม่ทัน ผลที่ได้อาจจะล้าสมัยแม้ว่าจะยังไม่ได้ปล่อยแอปฯ ออกไป อย่างไรก็ตาม การจะปรับปรุงแอปพลิเคชันมือถือระหว่างขั้นตอนกำลังพัฒนาไม่จำเป็นต้องซับซ้อนเสมอไป ด้วยการนำแนวคิด Agile ไปใช้ในหลายๆลำดับขั้น sprint ของขั้นตอนพัฒนาจะสร้างโอกาสให้คุณได้แก้ไขแอปฯ มือถือเมื่อต้องใส่ฟีเจอร์ล่าสุดเข้าไปได้
3. ได้ผลตอบแทน (ROI) เร็ว
ข้อดีต่างๆ จากการนำแนวคิด Agile ไปใช้ที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนทางการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขึ้น นอกจากนี้ แนวคิด Agile ยังช่วยให้คุณสร้างฟีเจอร์หลักของแอปฯ มือถือและปล่อย MVP (minimum viable product) ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะตรงกันข้ามกันกับแนวคิด waterfall ที่ต้องรอให้แอปฯ เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมดเสียก่อนจึงจะปล่อยได้
4. ได้แอปฯ ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ
ในแนวคิด Agile คุณจะได้ฟีดแบ็กในทุกๆ กระบวนการพัฒนา ทำให้ทีมพัฒนายังอยู่บนลู่บนทางและสร้างแอปฯ ที่ตรงต่อความต้องการที่แท้จริงของบริษัทได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ หรือการดีไซน์ UI คุณจะได้ทบทวน sprint ในแต่ละอัน และยังสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้ระหว่างกระบวนการพัฒนาแอปฯ
ลองนำแนวคิดการพัฒนาแอปฯ มือถือแบบ Agile ไปใช้ดูสิ
ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ถึงเหตุผลว่าทำไมแนวคิด Agile จึงเป็นที่นิยมในการจัดการโปรเจกต์ เนื่องด้วยว่าแนวคิด Agile มีผลดีกว่าขั้นตอนการพัฒนาแอปฯ แบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่นการแก้โปรเจกต์ ความลื่นไหลในการจัดการโปรเจกต์ และอื่นๆ อีกมากมาย
บริษัทพัฒนาแอปฯ มือถือสามารถเลือกแนวคิด Agile ไปใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันมือถือเพื่อตอบสนองให้ตรงเป้าหมายและตอบโจทย์ในด้านมาตรฐานของลูกค้าได้ หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับแอปฯ มือถือแบบ Agile และการนำไปใช้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่าของแอปฯ มือถือของคุณ ทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านแนวคิด Agile ของมอร์โฟซิสสามารถช่วยคุณได้ ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้เลย