Gamification: เปลี่ยนแอปฯ ที่จำเจให้น่าเล่น
เผยแพร่เมื่อ 29 Sep 2022 โพสไปที่เราเล่นเมื่อสนุก ทำงานเมื่อต้องจริงจัง
คนเราเล่นเกมมาร่วมศตวรรษ เรายังเล่นหนึ่งในเกมที่เก่าแก่ที่สุดในทุกวันนี้อย่างโกะที่ถูกสร้างขึ้นในประเทศจีนเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว วิดีโอเกมในยุคปัจจุบันยืมหลักการของบอร์ดเกมในยุคก่อนมามากมาย แต่ยังคงปล่อยคอนเซปต์ใหม่ๆ มาสร้างความตื่นเต้นได้อยู่เสมอ ต่างกันกับบอร์ดเกมในยุคก่อน เกมในยุคปัจจุบันนำเอาสิ่งกระตุ้นให้ผู้เล่นมีอารมณ์ร่วม และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับนักการตลาดและนักออกแบบผลิตภัณฑ์นอกเหนืออุตสาหกรรมเกม ทุกวันนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่วิดีโอเกมนำเอาคอนเซปต์นี้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผู้ใช้งานจดจ่อกับหน้าจอตรงหน้า
Gamification คือเทคนิคการใส่เกมเข้ามาในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่เกมอย่างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมือถือ ยกตัวอย่างง่ายๆ คือเมื่อต้องทำให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์ต่อแอปพลิเคชัน คุณสามารถนำเอาเกมมาใช้ได้ เช่นความท้าทายต่างๆ คนเรามักต้องการมีเป้าหมายที่ชัดเจนและอยากได้รางวัลเมื่อประสบผล ฉะนั้นแล้วความท้าทายต่างๆ จึงยากที่จะถูกมองข้าม ดีไซเนอร์สามารถสร้างอิทธิพลให้กับลักษณะการใช้งานและสร้างแรงบันดาลใจให้ “ผู้เล่น” มีปฏิกิริยาตามที่คาดหวังไว้ด้วยการใส่เกมในแอปฯ นั้นๆ
5 ส่วนประกอบที่สำคัญของ UX gamification
มีองค์ประกอบที่สำคัญของ gamification ที่ประสบความสำเร็จอยู่ด้วยกัน 5 อย่าง เมื่อไม่มีองค์ประกอบเหล่านี้ รูปแบบของการนำเกมมาใช้จะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ และไม่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดและรักษาผู้ใช้
1. เป้าหมาย
การตั้งเป้าสำหรับผู้ใช้คือการมีเหตุผลที่จะอยู่ในระบบต่อ เป้าหมายทำให้เรารู้สึกพอใจและภาคภูมิใจเมื่อประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของความสนุก
2. กฎกติกา
กฎกติกาคือสิ่งที่ต้องมีในแอปฯ ซึ่งการตั้งข้อจำกัดจะทำให้ผู้ใช้งานคิดนอกกรอบเพื่อบรรลุเป้าหมาย อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้ผู้ใช้บรรลุเป้าหมายเร็วเกินไป และทำให้ผู้ใช้อยู่ในระบบได้นานขึ้น กฎกติกาจำเป็นต้องมีความสม่ำเสมอ และต้องสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย
3. ความคืบหน้า
ระบบควรมีฟีดแบ็กให้กับผู้ใช้ โดยเฉพาะในส่วนของความคืบหน้า ผู้ใช้ควรนึกภาพการไปสู่เป้าหมายออกได้ ฟีดแบ็กสามารถแสดงได้ในหลายรูปแบบ เช่น แถบแสดงความคืบหน้า เลเวล ข้อความให้กำลังใจ และอื่นๆ
4. รางวัล
มอบรางวัลแก่ผู้ใช้งานที่ใช้เวลาและความพยายามในระบบ ไม่ใช่แค่เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วเท่านั้น แต่ยังมีรางวัลเล็กๆ ให้ความสำเร็จยิบย่อยเพื่อให้กำลังใจผู้ใช้งาน รางวัลคือการสนับสนุนเชิงบวกและยังผลักดันผู้ใช้ให้ใช้งานระบบต่อไป รางวัลที่ถูกใช้โดยทั่วไปประกอบด้วยระบบคะแนนซึ่งแปลงความคืบหน้าของผู้ใช้เป็นตัวเลข เหรียญตราสำหรับการบรรลุเป้าหมายพิเศษ และลีดเดอร์บอร์ดที่จัดลำดับผู้ใช้จากคะแนนและเหรียญตราที่ได้
5. แรงผลักดัน
แรงผลักดันคือส่วนที่สำคัญที่สุดในการการันตีว่าการสร้างเกมนั้นสำเร็จหรือไม่ แรงผลักดันมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท:
แรงผลักดันภายนอก - การสนับสนุนพฤติกรรมโดยใช้ปัจจัยภายนอก (เช่น เงิน เกรด คำชม)
แรงผลักดันภายใน - การสนับสนุนพฤติกรรมโดยใช้ปัจจัยภายใน (เช่น การบรรลุเป้าหมาย ความภาคภูมิใจ ความสงสัย)
งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแรงผลักดันจากภายในมีความแข็งแกร่งกว่าแรงผลักดันจากภายนอก เพราะถูกสนับสนุนโดยความต้องการล้วนๆ แม้จะไม่ได้ผลตอบแทนก็ตาม
ตัวอย่าง: Duolingo
เป้าหมาย
เป้าหมายสูงสุดคือการได้เรียนรู้ภาษาใหม่ๆ และยังช่วยให้ผู้เริ่มต้นได้มีความชำนาญด้านภาษามากยิ่งขึ้น เพราะการเรียนรู้ภาษานั้นเป็นเรื่องยาก Duolingo จึงดึงดูดผู้ใช้โดยการทำให้กระบวนการเรียนรู้ได้มีการโต้ตอบและสนุกสนาน
กฎกติกา
เพียงแค่ทำแบบฝึกหัด เรียนรู้จากบทเรียน และทดสอบ แม้ว่ากฎกติกาเหล่านี้จะดูง่าย ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการทำให้ผู้ใช้จดจ่อกับบทเรียนและกลับมาใช้งานต่อได้
ความคืบหน้า
Duolingo แปลงความคืบหน้าของผู้ใช้ให้เป็นรูปเป็นร่างโดยใช้แถบความคืบหน้า ระดับ และกลุ่มทักษะ
รางวัล
Duolingo ให้รางวัลผู้ใช้โดยการมอบเหรียญตราสำหรับความสำเร็จพิเศษและเน้นย้ำความต่อเนื่องของการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานต่อ แถมแพลตฟอร์มนี้ยังมีรางวัลเล็กๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น มงกุฎและข้อความให้กำลังใจเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานเรียนรู้จากบทเรียนต่อไป
แรงผลักดัน
แรงผลักดันจากภายในภายใต้แพลตฟอร์มนี้คือการได้รู้สึกราวกับบรรลุเป้าหมายที่ได้เรียนรู้ภาษาจนชำนาญ การเรียนรู้ภาษาใหม่นั้นยังช่วยพัฒนาในด้านอาชีพ เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ และได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่อีกด้วย
จิตวิทยาภายใต้ gamification ใน UX design
1. การสนองความต้องการของมนุษย์
Gamification สัมผัสผู้ใช้จากพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเป็นที่รู้จัก รางวัล สถานะ และความสำเร็จ หนึ่งในเทคนิค gamification ที่ได้ผลดีคือการแข่งขันซึ่งจะกระตุ้นความอยากเอาชนะของผู้ใช้
มีหลากหลายแอปฯ ที่ใช้ลีดเดอร์บอร์ดในการแสดงความคืบหน้าโดยเปรียบเทียบกับผู้ใช้คนอื่นเป็นรางวัล เพื่อให้ผู้ใช้จดจ่อได้มากขึ้น ในบางแอปฯ ผู้ใช้สามารถแข่งขันกันในกลุ่มเพื่อนได้ ซึ่งเมื่อมีการแข่งขันกับเพื่อนๆ จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า
2. การอยู่ร่วมกันในสังคม
เกมสามารถสร้างสังคมที่ผู้ใช้สนับสนุนกันเองและช่วยกันเติบโตได้ ในบรรยากาศที่เป็นมิตรและสบายๆ
ลีดเดอร์บอร์ดไม่ได้เพียงสร้างการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังให้ผู้ใช้และทีมได้เปรียบเทียบความสำเร็จและแข่งขันกันแบบเพื่อนเพื่อคว้ารางวัล ทางแอปฯ ควรสร้างระบบการให้รางวัลที่ง่ายในระยะเริ่มต้น ซึ่งในมุมมองด้านจิตวิทยาแล้ว มันจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกสนุก อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นระดับสูงๆ การได้รางวัลควรเป็นไปได้ยากขึ้นเนื่องจากผู้ใช้คุ้นเคยกับระบบแล้ว และป้องกันไม่ให้ผู้ใช้บรรลุเป้าหมายได้เร็วเกินไป
3. คลายเครียดได้ดี
สมองคนเราสามารถรับมือกับข้อมูลได้อย่างจำกัดในระยะเวลาหนึ่งก่อนจะรับไม่ไหว เพื่อป้องกันไม่ให้กรณีนี้เกิดขึ้น gamification ช่วยทำให้สมองไม่ว่อกแว่กและไม่ตึงเครียดได้
เมื่อจิตใจของเราว่างเปล่า เราควรจะใช้เวลานั้นในการเรียนรู้และรับข้อมูลใหม่ๆ เข้ามา ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เล่นเกม คุณจะไม่คิดถึงอาหารมื้อเย็นเพราะจิตใจยังจดจ่ออยู่ที่เกมนั้น เพราะฉะนั้นแล้ว การนำเกมใส่เข้าไปในกระบวนการเรียนรู้จะทำให้ผู้ใช้จดจ่อกับบทเรียนได้
4. ผู้ใช้มักเล่นต่อเรื่อยๆ
หลักการสุดท้ายมีพื้นฐานมาจากทฤษฎี loss aversion (การกลัวการสูญเสีย) ซึ่งคนเรามักจะเลี่ยงการสูญเสียมากกว่าการได้มาซึ่งสิ่งนั้นๆ ตัวอย่างเช่น การไม่เสียเงิน 5 ดอลลาร์ จะดีกว่าการได้มา 5 ดอลลาร์
Loss aversion มีความสำคัญกับ gamification อย่างมาก เนื่องจากผู้ใช้ที่ได้รับรางวัลมาจะไม่อยากเสียมันไป จึงเล่นไปเรื่อยๆ เพื่อรักษารางวัลนั้น เช่น ผู้ใช้อาจจะอยากรักษาตำแหน่งบนลีดเดอร์บอร์ดและจะใช้แอปฯ เป็นประจำ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะรักษาผู้ใช้ให้อยู่ต่อได้
ตั้งลำดับความสำคัญให้กับ gamification
ดีไซเนอร์ควรคำนึงเสมอว่า gamification เป็นแค่ส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์และไม่ควรมีความสำคัญมากกว่าตัวผลิตภัณฑ์เอง หากผู้ใช้ไม่สามารถบรรลุเป้าตามที่หวังไว้ได้เพียงเพราะดีไซน์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ถือว่าเป็นกรณีที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน gamification จึงไม่สามารถช่วยคุณแก้ไขผลิตภัณฑ์หรือปัญหาทางการใช้งานที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้
ไปยังหน้าบริการของเราเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับ UX design ใหม่ล่าสุดที่มอร์โฟซิสได้เลย