Design Thinking ช่วยกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณให้ดีขึ้นได้อย่างไร
ลูกค้าและพาร์ตเนอร์มักจะถามเราบ่อยๆ ว่า design thinking นั้นจำเป็นต้องทำตั้งแต่เริ่มจนจบทุกโปรเจกต์เลยไหม คำตอบของเราคือ ไม่
เพราะว่า design thinking เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องนำมาใช้ในช่วงแรกของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง โดย design thinking คือเครื่องมือหรือเช็กลิสต์สำหรับองค์กรที่ต้องการ “ริเริ่มสิ่งใหม่” และ “Agile”
เรากำลังสร้างอะไรแปลกใหม่อยู่หรือเปล่า - ใช่
เราทำงานแบบ Agile อยู่หรือเปล่า - ใช่
เรากำลังใช้ design thinking อยู่หรือเปล่า - ใช่
ส่วนใหญ่แล้ว design thinking มักจะนำมาใช้ในองค์กรในรูปแบบของการพูดคุย เวิร์กช็อป หรือใน sprint ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่ที่จริงแล้วแนวคิดนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กรเสมอไป แต่จะเหมาะกับองค์กรที่ทีมงานทุกระดับให้การยอมรับ design thinking เท่านั้น จึงจะสามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างเป็นระบบ
ถ้าหากคุณต้องการลองใช้ นี่คือสิ่งที่เราอยากจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับ design thinking จากประสบการณ์ของเราได้ทำในเรื่องนี้มามากกว่า 20 ปี
Design thinking กลายเป็นคำศัพท์ที่ได้รับความนิยมเพราะ IDEO ซึ่งเป็นเอเจนซีที่มีผู้ก่อตั้งเป็น industrial designer หรือ นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรม แนวคิดนี้จึงนับว่ามาจากการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมและมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดการทำงานแบบ Agile ซึ่งถือกำเนิดมาจากวิศวกรรมซอฟต์แวร์ตรงที่ไม่ได้มาจากสายบริหารธุรกิจ ที่ปัจจุบันยังคงมีความพยายามในการนำแนวคิดนี้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่
จากประสบการณ์ของเราแล้ว design thinking เป็นทั้งแนวคิดและเครื่องมือ
แนวคิดแบบ design thinking คือการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งแตกต่างจากสังคมวิทยาหรือมานุษยวิทยาที่เน้นการศึกษาผู้คนและวัฒนธรรมเพื่อทำความเข้าใจเป็นหลัก ตรงที่ design thinking ต้องการทำความเข้าใจผู้คนเพื่อออกแบบอะไรสักอย่างให้พวกเขาได้ใช้นั่นเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า human-centered design (การออกแบบที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง)
เครื่องมือในการทำ design thinking ได้แก่ กระดาษโพสต์อิตจำนวนมากและกระดานไวต์บอร์ด เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลแบบจัดกลุ่ม จากนั้นหาข้อมูลเชิงลึกด้วยการนำกระดาษ ดินสอ และปากกามาร์กเกอร์ มาร่างคอนเซปต์และตัวอย่างสถานการณ์ของการใช้ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือระบบที่ต้องการพัฒนาขึ้นมา
แนวทางปฏิบัติของ design thinking นี้มีการนำมาใช้มากกว่า 10 ปีแล้ว และมีที่มาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำจากชาติตะวันตกอย่างน้อย 2 แห่ง ที่ได้นำ design thinking มาใช้ในแบบของพวกเขาเอง อันได้แก่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ใช้โมเดลอย่าง Double Diamond Model และ สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ ที่ใช้ Design Methods Model
โมเดลทั้งสองแบบของ design thinking นี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนตรงที่ โมเดลของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเน้นการออกแบบเชิงอุตสาหกรรม และโฟกัสที่ pain point ของผู้ใช้ ในขณะที่โมเดลของสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์กลับเน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์และโฟกัสที่การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจด้วยการทำวิจัยและตัดสินใจทางด้านธุรกิจจากข้อมูลที่มี
ไม่ว่าที่ปรึกษาในการออกแบบของคุณเลือกเดินตามแนวทางไหน ผลลัพธ์ของโปรเจกต์คุณก็จะออกมาตามนั้น นั่นหมายความว่าเมื่อถึงวันที่คุณต้องเลือกจ้างบริษัทออกแบบสักแห่งหนึ่ง คุณก็ควรดูว่าพวกเขาเลือกใช้แนวทางไหนและจะนำหลักการ design thinking มาปรับใช้เพื่อให้คุณธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จตามที่คิดไว้ได้อย่างไร