8 เรื่องที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกแบบ UX
คุณอาจเคยสงสัยเกี่ยวกับ UX Design บ้างไหมว่ามันคืออะไร? แล้วทำไมเราถึงควรทำความเข้าใจมันให้ดีขึ้น? เอาล่ะถ้าคุณอยากไขข้องสงสัยที่มี จากนี้เราจะมาเผย 8 สิ่งสำคัญที่คุณอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับ UX Design ไปพร้อมกัน
UX Design ย่อมาจาก ‘User experience design’ หรือแปลเป็นไทยว่า ‘การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้’ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นที่รู้จัก และเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับช่วงบุกเบิก
โดยหลักการพื้นฐานของการออกแบบ UX ล้วนเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย การวิเคราะห์ และการทดสอบใช้งาน (User Testing) ซึ่งจะนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาการออกแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
แม้ว่าการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้จะได้รับความนิยมจากบรรดาธุรกิจทมากขึ้น แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ UX อยู่มาก และยังมี 2-3 ประเด็นที่เคยคิดว่าตัวเองเข้าใจถูกแต่กลับไม่ใช่เรื่องจริง รวมถึงหลักการที่เคยเชื่อถือได้นั้นกลับไม่มีอะไรมากไปกว่าข้อมูลผิดๆ บนพื้นฐานของความรู้และข้อสรุปที่ไม่ได้มาจากการทำความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง
นี่คือ 8 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ UX Design ที่พบได้บ่อย
UX สามารถใช้ได้กับทุกคน
UX ล้วนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
UX Design เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้งาน
UX testing เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ควรทำ
เว้นพื้นที่ว่างไว้พักสายตา
จัดหาตัวเลือกให้ผู้ใช้มากที่สุด
ผู้ใช้ชอบอ่านข้อมูลในเว็บไซต์
ผู้ใช้ไม่ได้เลื่อนดูหน้าเว็บไซต์จริงๆ
1. “UX สามารถใช้ได้กับทุกคน”
การออกแบบ UX ไม่มีจุดประสงค์ที่จะพยายามทำให้ทุกคนพึงพอใจ หรือช่วยให้ผู้ใช้ทุกกลุ่มใช้งานแอปฯ หรือเว็บไซต์ง่ายขึ้น แต่เน้นไปที่การมอบประสบการณ์การใช้งานที่สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้อย่างแท้จริง
มีนักออกแบบเว็บไซต์หลายคนที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน UX แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการมองหาใครสักคนที่มีพื้นฐานความเข้าใจในการออกแบบ UX เมื่อคุณคิดจริงจังว่าอยากจะเพิ่มประสิทธิภาพของ UX ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
มีเพียงผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการมาซักระยะหนึ่งแล้วเท่านั้น ที่สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายต่างพากันคาดหวังได้ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการปรับปรุง UX
2. “UX ล้วนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด”
โลกยุคดิจิทัลในปัจจุบัน มีหลายบริษัทที่ถูกกระแสนิยมของเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการใช้งานรูปแบบเดิมเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีเสียหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องการออกแบบ UX
ในความเป็นจริงแล้ว UX ไม่ใช่ศาสตร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่คือการโฟกัสไปที่ประสบการณ์ของกลุ่มผู้คนที่ได้ใช้บริการและผลิตภัณฑ์ดิจิทัล รวมถึงการตอบโต้กันระหว่างอุปกรณ์กับผู้ใช้งาน เพราะไม่เพียงปรับปรุงประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมเท่านั้น ทว่ายังช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของ UX ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
คงเป็นเรื่องดีที่เรานำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้ หากสามารถผสมผสานมันเข้ากับธุรกิจได้อย่างกลมกลืนก็จะทำให้ลูกค้าปัจจุบันไม่รู้สึกถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้น
3. “UX Design เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้งาน”
นั่นไม่ใช่ความจริง เพราะ UX คือสิ่งที่ผู้ใช้รู้สึกเมื่อได้ใช้งานผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ขณะที่ความสามารถในการใช้งาน (Usability) นั้นเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นการทำงานและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และเงื่อนไขการบริการ
ความสามารถในการใช้งาน (Usability) เป็นแนวคิดที่มีขอบเขตกว้างกว่า UX เนื่องจากเป้าหมายที่ตั้งไว้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการใช้งานนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ UX และการออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงมูลค่าของตลาดโดยรวมซึ่งไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้ มันยังถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของสมการที่ช่วยให้แต่ละโปรเจกต์สำเร็จลุล่วงอีกด้วย
4. “UX testing เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ควรทำ”
Iไม่ใช่เรื่องที่ดีนักหากการทำ UX testing (การทดสอบประสบการณ์ผู้ใช้) จะเกิดขึ้นในขั้นตอนสุดท้าย โดยแนวทางที่ดีที่สุดในการตรวจสอบการทำงานและวัดประสิทธิภาพนั้น รวมถึงดูว่าผู้ใช้พึงพอใจกับบริการและผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้มากขนาดไหน ควบคู่ไปกับการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการพัฒนา
นี่จะช่วยให้คุณทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อแก้ไขให้พร้อมสำหรับการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่กำลังเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และยังช่วยประหยัดเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือทดสอบก่อนการใช้งานจริงได้อย่างแน่นอน
5. “เว้นพื้นที่ว่างไว้พักสายตา”
พื้นที่ว่างเปล่า (White Space) หมายถึง พื้นที่ว่างบริเวณระหว่างหรือรอบองค์ประกอบของการออกแบบหรือโครงร่างเว็บไซต์ และยังเป็นที่เข้าใจกันว่า “ไม่มีประโยชน์”
นักออกแบบเว็บไซต์และนักวิเคราะห์ผู้ใช้รู้ดีว่าทำไมเรื่องนี้ถึงไม่ถูกต้อง นั่นก็เพราะพื้นที่ว่างเปล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่ว่างธรรมดาๆ ที่ถูกใช้เป็นพื้นหลังเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานด้วย
พื้นที่รอบๆ กราฟิกและสิ่งอื่นๆ ตลอดจนระยะห่างแต่ละบรรทัด ตัวอักษรภายในข้อความ เส้นขอบ ภาพเวกเตอร์ รวมไปถึงช่องว่างระหว่างคอลัมน์ เหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่มีอยู่ในการออกแบบเว็บไซต์เท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น การมีพื้นที่ว่างไม่เพียงช่วยให้รู้สึกสบายตาเมื่อได้มอง แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านได้ดี และทำให้การจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ของเมนูการใช้งานเป็นระเบียบขึ้น ตลอดจนสามารถดึงดูดสายตาผู้พบเห็นได้ตั้งแต่แรกเห็นอีกด้วย
6. “จัดหาตัวเลือกให้ผู้ใช้มากที่สุด”
การมีตัวเลือกหลากหลายนับเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันทำให้เรารู้สึกเหมือนว่าได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด แต่การทำแบบนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการออกแบบ UX
ถ้าหากเรามีตัวเลือกที่มากเกินจำเป็นก็อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกหนักใจกับการเลือกคำตอบ ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่พวกเขาจะปิดหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณทิ้งโดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย ส่งผลให้ผู้ใช้เปลี่ยนใจไปใช้บริการและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีจำนวนตัวเลือกอยู่ในเกณฑ์ปกติแทน
บางครั้งการสร้างเงื่อนไขง่ายๆ อาจทำให้มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน ดูตัวอย่างได้จาก Google ที่เว็บไซต์ของพวกเขาสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และยังไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกอึดอัดกับการตัดสินใจอะไรมากเกินไปอีกด้วย
คุณจะเห็นได้ว่าในหน้าค้นหามีเพียง 2 ปุ่มให้คลิกเลือกเท่านั้น นี่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาอยู่ได้อย่างรวดเร็วและยังสัมผัสได้ถึงความเป็นมิตรในการใช้งานที่ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกกังวล
7. “ผู้ใช้ชอบอ่านข้อมูลในเว็บไซต์”
เรารู้โดยสัญชาตญาณได้ทันทีว่าสิ่งนี้ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าผู้อ่านสนใจคอนเทนต์ที่อยู่บนเว็บไซต์ พวกเขาจะอ่านเนื้อหาทั้งหมดแบบคำต่อคำ แต่ในความเป็นจริงนั้น พวกเขาจะปราดสายตามองหาคีย์เวิร์ดและอ่านคร่าวๆ ในหน้าอื่น เพื่อค้นหาหัวข้อที่ความหมายตรงกับจุดประสงค์ รวมถึงย่อหน้าสั้นๆ ที่อัดแน่นด้วยสาระสำคัญ และหัวข้อต่างๆ ที่ถูกลิสต์ไว้ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
เคล็ดลับคือพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ข้อความ คำแนะนำ คำโฆษณา หรือแม้แต่บรีฟสรุปที่เขียนมายาวยืด แต่เปลี่ยนเป็นการสื่อสารให้ตรงประเด็นและนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลรวดเร็วที่สุดแทน
8. “ผู้ใช้ไม่ได้เลื่อนดูหน้าเว็บไซต์จริงๆ”
สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเกี่ยวกับนักออกแบบ เพราะพวกเขาคิดว่าผู้ใช้ไม่ได้เลื่อนดูทุกส่วนของเว็บ จึงไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลปรากฎอยู่ด้านล่างเว็บไซต์หรือแอปๆ บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
จริงอยู่ที่เนื้อหาหลักทั้งหมดอยู่ในครึ่งแรกของเว็บไซต์ แต่ปัจจุบันหน้าจอของมือถือและแท็บแล็ตล้วนมีขนาดที่ใหญ่โตมากขึ้น จึงทำให้พวกเรามีนิสัยชอบไถหน้าจอเลื่อนดูไปจนถึงด้านล่างสุด
ถึงอย่างนั้น หากมีบางคนที่ไม่ได้เลื่อนดูหน้าต่างๆ จนครบ ก็ไม่ได้มีเหตุผลมาจากผู้ใช้เลย แต่อาจมีเหตุผลมาจากผลิตภัณฑ์หรือเนื้อหาที่คุณนำเสนอนั่นเอง เว้นแต่พวกเขาจะสนใจในสินค้าหรือบริการนั้นจริงๆ
แต่กฏการออกแบบบ้างข้อก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เช่นเดิม ควบคู่กับการนำเสนอคอนเทนต์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเลื่อนดูสิ่งที่คุณได้นำเสนอเอาไว้นั่นเอง
บทสรุป
ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องปรับเปลี่ยนมาใช้แนวทางปฏิบัติที่มีความคล่องตัว กระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าคุณจะได้ประโยชน์จากการละเลยสิ่งที่เข้าใจผิดที่เรานำเสนอในบทความนี้ ก็ควรตรวจสอบดูให้แน่ใจว่า UX ของคุณยังคงมอบผลลัพธ์ได้ตามที่คาดหวังอยู่หรือไม่
หากคุณอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ Morphosis ดิจิทัลเอเจนซี่ชั้นนำของประเทศไทย เราสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเต็มรูปแบบด้วยบริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่การออกแบบ UX / UI การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ไปจนถึงการให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์
ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรี หรือเข้าชมหน้าบริการของเรา เพื่อเรียนรู้วิธีที่เราจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตก้าวหน้า