กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล
สรุปประเด็นหลัก
ดึงให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับขั้นตอนการออกแบบตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น และเตรียมวิธีที่เข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อให้พวกเขาบอกฟีดแบ็กกลับมา
นำข้อมูลและผลการวิเคราะห์มาใช้ตัดสินใจทุกครั้งที่เป็นไปได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องยุ่งยากที่อาจตามมาตลอดกระบวนการพัฒนา
พยายามคงรูปแบบดีไซน์ของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ขั้น prototype เอาไว้ แล้วปรับปรุงจนกระทั่งพร้อมนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใช้งานได้ดีและทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น
เศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้บริษัทส่วนใหญ่หันมาลงทุนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลกันมากขึ้น ส่วนทางด้านลูกค้าก็ต้องการประสบการณ์ที่ดีที่สุด ทั้งในเรื่องโซลูชันใหม่ๆ จากบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา
การที่คุณจะมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าได้นั้น คุณจำเป็นต้องกำหนดไว้ก่อนว่าลูกค้าคือสิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์
ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลนั้นจะเป็นแอปฯ หรือเว็บไซต์ก็ตาม คุณจำเป็นต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อที่จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล
ที่มา: https://unsplash.com/
หากคุณสงสัยว่าการนำไอเดียที่มีอยู่มาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ดิจิทัลนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ไม่ต้องห่วง เราจะบอกคุณถึงกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่เริ่มจากขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์และเตรียมการ
อย่างแรกสุดของการเริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลคือการถอยออกมามองภาพรวมหนึ่งก้าว จากนั้นปรึกษาหารือกับลูกค้าหรือ product owner เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจและคู่แข่งในตลาด รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการและเป้าหมายของลูกค้า
การสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอย่างเช่น เว็บไซต์ จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมผู้ใช้ถึงใช้ผลิตภัณฑ์และพวกเขาคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีแบบไหน เพื่อช่วยให้ทีม UX รู้ว่าทางแก้ปัญหาต่างๆ มีอะไรบ้าง
ในช่วงเวลาที่ทำการวิเคราะห์และเตรียมการนี้ คุณจะสามารถประเมินความต้องการของโปรเจกต์และขีดความสามารถของทีมงานไปพร้อมๆ กันได้
เมื่อคุณร่วมงานกับเอเจนซีที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล พวกเขาไม่เพียงแต่จะแนะนำให้คุณก้าวไปในทิศทางที่เหมาะสมด้วยการตรวจสอบโค้ดและระบบที่คุณใช้ในปัจจุบัน แต่ยังนำเสนอความช่วยเหลือตลอดการดำเนินงานในทิศทางดังกล่าวอีกด้วย
กระบวนการนี้มักเกี่ยวข้องกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของบริษัทและผู้ใช้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่คุณอยากได้และลูกค้าของคุณอยากใช้ไปเรื่อยๆ
2. หาไอเดียในการสร้างโซลูชัน
หลังจากที่กระบวนการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว คุณจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าควรจะมีฟีเจอร์อะไร และต้องทำอย่างไรบ้าง โดยคุณต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
แอปฯ ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในความคิดของคุณเป็นอย่างไร
คุณจะแก้ปัญหาอะไรได้บ้างในกระบวนการนี้
ผู้ใช้คาดหวังอะไรจากผลิตภัณฑ์ของคุณ
ขั้นตอนนี้จะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรได้ในระยะยาว เนื่องจากคุณสามารถจัดการกับปัญหาหรือความต้องการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงหลีกเลี่ยงการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้ในอนาคต
การออกแบบ prototype
คุณสามารถขอเอเจนซีให้ออกแบบ prototype เวอร์ชันคร่าวๆ ได้ก่อนเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์เวอร์ชันแรก
วิธีการนี้มีเรื่องของการทดสอบและพัฒนาโมเดลที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจนกว่า prototype จะสอดคล้องกับความต้องการและประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด
นอกจากนี้ การพัฒนา MVP (Minimum viable product) ขึ้นมายังช่วยให้คุณรู้ว่าองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของโซลูชันนั้นสามารถนำมาปรับใช้กับฟีเจอร์ตรงส่วนไหนได้บ้างในภายหลัง
วิธีการนี้ช่วยให้เราปรับแก้ผลิตภัณฑ์ได้ก่อนที่จะเริ่มการปรับสมดุลของผลิตภัณฑ์ ซึ่งลูกค้าจะให้ความสำคัญกับฟังก์ชันที่จำเป็นจริงๆ ก่อนส่วนอื่นๆ
3. พัฒนาผลิตภัณฑ์
เมื่อ prototype พร้อมแล้วก็ถึงเวลาออกแบบ ในขั้นตอนนี้นักออกแบบจะเริ่มลงมือออกแบบผลิตภัณฑ์ของคุณ
คุณอาจจะต้องปรึกษากับนักออกแบบว่ามี requirement อะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับการออกแบบเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเสร็จสิ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือกสร้างขึ้นมาและต้องการเปิดตัวในตลาด
อาจมีการนำ interaction design ที่มีเอกลักษณ์ รวมถึง transition และ loading animation มาใช้ในช่วงพัฒนานี้เพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับผลิตภัณฑ์ และนำไปทดสอบว่าผู้ใช้พึงพอใจมากแค่ไหน
การนำข้อมูลที่ได้จากสองขั้นตอนแรกมาใช้จะทำให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ได้ โดยยึดประสบการณ์การใช้งานหรือผู้ใช้เป็นหลักสำคัญในการพัฒนา
การนำ Agile มาปรับใช้
การทำงานด้วยเฟรมเวิร์กแบบ Agile พร้อมด้วยการใช้ซอฟต์แวร์อย่าง JIRA (ของ Atlassian) ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะช่วยให้ทีมงานมีความคล่องตัวและสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายด้วยการใช้ sprint ที่จัดขึ้นซ้ำๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการโปรเจกต์ด้วยแนวคิด Agile จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม สามารถควบคุมงานได้ดีขึ้น ได้ผลลัพธ์ที่ดี และสร้างผลิตภัณฑ์มีคุณค่าต่อลูกค้า
การทดสอบ
เป็นการทดสอบฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ว่าสามารถใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีแค่ไหน
ช่วยให้ตอบคำถามอย่างเช่น แอปฯ ทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็นไหม ทำงานได้บนอุปกรณ์ทุกชนิดหรือเปล่า และทำงานได้เร็วพอหรือไม่ ฯลฯ ได้อย่างครบถ้วน
การทดสอบทุกอย่างที่ว่ามาจะสามารถแก้ไขและกำจัดข้อผิดพลาด บั๊ก รวมถึงปัญหาอื่นๆ จนเรียบร้อยได้ในขั้นตอนนี้ ดังนั้นจึงต้องนำการทดสอบมารวมอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาด้วย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เจอปัญหาภายหลัง
4. เปิดตัวผลิตภัณฑ์
ในตอนนี้คุณพร้อมประกาศให้ผู้ใช้รู้จักผลิตภัณฑ์แล้ว แม้ว่าจะต้องใช้เวลามากมายไปในขั้นตอนก่อนหน้า แต่คุณก็อาจต้องจัดการกับอุปสรรคบางอย่างก่อนจะเดินหน้าต่อไปได้
คุณจำเป็นต้องเริ่มจากการวางตารางงานที่อาจมี preview หรือ landing page, อีเมลโฆษณา, การโปรโมตบนโซเชียลมีเดีย, การให้คะแนนช่วงก่อนเปิดตัว, หรือการทำแคมเปญเพื่อโปรโมตสักชุดหนึ่ง
การเปิดตัวธุรกิจใหม่ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะคุณต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อดึงดูดให้ผู้คนในกลุ่มที่คุณหาข้อมูลมาในขั้นตอนแรกๆ
5. ดูแลรักษาและให้ความช่วยเหลือ
การดูแลรักษาและให้ความช่วยเหลือเป็นสิ่งที่มักถูกมองข้าม ทั้งยังไม่ใช่เรื่องที่น่าสนใจมากนักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ถึงแม้ว่านี่จะเป็นขั้นตอนที่ยาวนานที่สุดหากว่าผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าคุณไม่เตรียมตัวและเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นให้พร้อม คุณก็อาจต้องจ่ายมากกว่าที่ใช้ไปในการพัฒนาและเปิดตัวเสียอีก
คำแนะนำจากทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลในขั้นตอนนี้จะช่วยให้ทีมอื่นๆ สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ในอนาคต
คุณสามารถจัดการงานส่วนนี้ได้จากการค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง อ่านรีวิวของลูกค้า และนำข้อมูลมาวิเคราะห์
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีจะทำให้คุณมีดีไซน์ที่ยอดเยี่ยม พร้อมกับมั่นใจได้ว่าความเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะเป็นแค่การแก้ไขจุดเล็กๆ และป้องกันไม่ให้เกิดบั๊กใหญ่ๆ ตามมา
การสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลคือการลงมือทำด้วยความมุ่งมั่น
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัลให้โดดเด่นจากคู่แข่งในตลาดยุคนี้นั้นต้องใช้ทั้งความเร็วและคล่องตัว นอกจากเงินที่ลงทุนไปแล้ว ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะยาวก็จำเป็นเช่นเดียวกัน ควรจำไว้ว่าแม้แอปฯ เปิดให้ลูกค้าได้ใช้งานแล้ว โปรเจกต์ก็ยังไม่จบอยู่ดี แต่เป็นช่วงที่งานหนักเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
ที่มอร์โฟซิส เรามีความเชี่ยวชาญด้านบริการ UX research รวมถึงการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการออกแบบ ค้นคว้า และวางกลยุทธ์ของเราจะร่วมมือกันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าเราจะช่วยเหลือคุณได้อย่างไร ติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาฟรีได้เลย