อัปเดตเทรนด์ Digital Healthcare ล่าสุดในไทย พัฒนาถึงไหนแล้ว?
ในช่วงนี้เทรนด์ Digital Healthcare เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ผลิกโฉมอุตสาหกรรมการแพทย์ทั่วโลกโดยเฉพาะหน่วยงานรัฐบาล โรงพยาบาล และบริษัทเอกชนต่างๆ ในประเทศไทยกระตือรือร้นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการบริการด้านการแพทย์ (HealthTech) มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และสังคมผู้สูงอายุในไทย วันนี้เราจึงชวนคุณมาอัปเดตเทรนด์ Digital Healthcare ในไทยที่คุณอาจคาดไม่ถึงกัน
Digital Health ในเอเชียมีโอกาสโตมากแค่ไหน
เทรนด์อุตสาหกรรม Digital Healthcare ในเอเชียมีโอกาสเพิ่มมูลค่ามากถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.3 ล้านล้านบาท) พุ่งขึ้นจากเดิม 37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2025 และยังพบอีกว่า Digital Health ในไทยสามารถขยายตลาดได้มากถึง 25% ต่อปีเมื่อปี 2020
นอกจากนี้ McKinsey ยังเผยอีกว่า 75% ของมูลค่าตลาด Digital Healthcare เป็นการให้บริการด้านสุขภาพถึงบ้าน (Healthcare Delivery) ซึ่งเพียงเท่านี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า Digital Healthcare มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต มาดูกันว่าจะมีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจบ้าง
1. การให้บริการด้านการดูแลสุขภาพออนไลน์
Raksa แอปฯ มือถือ Telemedicine ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นธุรกิจ e-commerce เพื่อให้บริการด้านสุขภาพจากหมอโดยตรงผ่านการโทรและ VDO call ซึ่งความพิเศษของแอปฯ นี้คือ สามารถเช็กประวัติอาการป่วยของตัวเอง ความเชี่ยวชาญเฉพาะของหมอที่อยากปรึกษา และซื้อยาหรือเลือกที่จะรับใบสั่งยาออนไลน์เพื่อนำไปซื้อยาด้วยตัวเองก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น Raksa ยังมีให้บริการเคลมประกันสุขภาพออนไลน์ที่ช่วยให้คุณประหยัดเวลายิ่งขึ้น
2. บริการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
Health tech ด้านการบริการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่กำลังได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Apple ผู้ผลิต Apple watch (นาฬิกาเพื่อสุขภาพ) บริษัท AIA (AIA Vitality) และ Prudential (Pulse by Prudential) บริษัทประกันด้านสุขภาพระดับโลกต่างแข่งกันพัฒนา Digital healthcare ที่สามารถประเมินอาการป่วยเบื้องต้น บันทึกข้อมูลสุขภาพและวัคซีน บันทึกโภชนาการอาหาร และฟีเจอร์อื่นๆ สำหรับคนรักสุขภาพ
3. การให้บริการสาธารณสุขแบบครบวงจร
ตอนนี้โรงพยาบาลหลายแห่งพยายามสร้างพื้นที่การให้บริการด้านสุขภาพผ่านระบบดิจิทัลแบบครบวงจรกันแล้ว ซึ่งผู้ป่วยสามารถนัดหมายพบแพทย์ สั่งซื้อยา ประเมินความเสี่ยงที่อาจเป็นโรคต่างๆ และสามารถเข้าถึงข้อมูลการฉีดวัคซีนได้อย่างง่ายดายผ่านแอปพลิเคชั่นประเภทนี้
ปัจจุบันมีรัฐบาลสิงคโปร์ให้บริการผ่านแอปฯ HealthHub และในประเทศจีนก็มีโรงพยาบาลกว่า 1,000 แห่ง ที่ให้บริการด้านสุขภาพผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ด้วยความร่วมมือจากบริษัทดิจิทัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Tencent และ Ping An
4. การให้บริการและติดตามอาการป่วย
Medlinker และ ClouDr คือแพลตฟอร์มการจัดการโรคเรื้อรังของประเทศจีน ที่มีเป้าหมายสำคัญในการเชื่อมต่อผู้ป่วย แพทย์ โรงพยาบาล และร้านขายยาเพื่อเชื่อมโยงถึงกันกันผ่านแอปพลิเคชั่น
- Medlinker ได้ร่วมมือกับแพทย์กว่า 50,000 คน เพื่อคิดค้นเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ และโรคไต รวมถึงการได้จับมือกับร้านขายยาออนไลน์และบริษัทผลิตยารักษาโรคต่างๆ
- ClouDr มีโมเดลธุรกิจแตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยมีแพลตฟอร์มที่ใช้ดูแลผู้ป่วยโรคต่างๆ พร้อมการบริการจัดหายาตามใบสั่งแพทย์ และให้ไปรับยากับร้านขายยาในเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในแต่ละจังหวัดหรืออำเภอที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่
อะไรที่กระตุ้นให้เทรนด์ Digital Healthcare ในไทยยิ่งเติบโตขึ้น?
ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กินเวลานานกว่า 2 ปี บวกกับโครงสร้างสังคมของประเทศไทยที่เป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2021 นั้นคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้ภาครัฐและเอกชนพยายามคิดหาวิธีและวางแผนรับมือกับระบบสาธารณสุขของสังคมไทยในระยะยาว
แน่นอนว่าการนำ Digital healthcare เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบถือเป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยม โดยเทคโนโลยีที่หลายฝ่ายตั้งใจนำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ เทคโนโลยี AI, Cloud database, 5G และ IoMT (Internet of Medical Things) โดยหน่วยงานสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชนต่างตื่นตัวและออกนโนบาย Digital Transformation ไปบ้างแล้ว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้นด้วย Digital healthcare ให้ครอบคลุมมากที่สุด
จากที่เราได้ร่วมงานสัมมนาวิชาการ AI & Big data Leadership Summit 2021 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2021 มีผู้เชี่ยวชาญชาวไทยและต่างชาติร่วมกันแชร์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี AI และ Big Data เพื่อนำประโยชน์ของมันมาพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งดาวเด่นของงานนี้หนีไม่พ้น Digital tech ของโรงพยาบาลศิริราช ผู้นำด้าน Digital Healthcare ในไทย
ศิริราชกับทิศทางการให้บริการผู้ป่วยด้วย Digital Healthcare
เทคโนโลยี Digital Healthcare ที่โรงพยาบาลศิริราชพัฒนาขึ้น
- AI ช่วยประเมินอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน
AI Paramadic ผู้ช่วยประเมินอาการผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที แถมยังช่วยให้ทีมช่วยเหลือฉุกเฉินสามารถรักษาอาการป่วยเบื้องต้นได้ก่อนถึงโรงพยาบาล - AI ประเมินและวินิจฉัยอาการป่วยเบื้องต้น
โรงพยาบาลศิริราชใช้เทคโนโลยี 5G ควบคู่กับ AI เพื่อประเมินอาการและวินิจฉัยอาการป่วยเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเหลือแพทย์ในการติดตามอาการป่วยว่าอยู่ในระดับไหน แล้ว ซึ่งจุดโดดเด่นของ health tech นี้คือการประเมินอาการป่วยของคนไข้ได้จากทุกที่ทุกเวลา - AI พยาธิวิทยาช่วยแพทย์วิเคราะห์สาเหตุการเกิดโรคได้แม่นยำขึ้น
การวินิจฉัยโรคถือเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของแพทย์ แต่ด้วยเทคโนโลยี AI พยาธิวิทยาที่โรงพยาบาลศิริราชคิดค้นขึ้นนี้สามารถช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคได้รวดเร็ว และยังช่วยลดความผิดพลาดจากการวิเคราะห์อาการป่วยที่ซับซ้อนได้ดีอีกด้วย - Smart Inventory บริหารจัดการยาและอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริการอุปกรณ์การแพทย์และยามักเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวของโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่ง นี่จึงเป็นเหตุผลที่โรงพยาบาลศิริราชพัฒนาระบบ Smart Inventory ที่มี AI เป็นตัวกลางในการติดตามการเบิกจ่ายอุปกรณ์การแพทย์และยา พร้อมทั้งประเมินปริมาณการสั่งซื้อสิ่งเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม
ร่วมบุกตลาด Digital Health ไปกับทีม Mobile App Developer ของเรา
ด้วยความตื่นตัวที่อยากจะพัฒนา Health tech ของภาครัฐและเอกชนแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเทรนด์ Digital Health กำลังไปได้ดีและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมถึงบริษัทเอกชนที่เห็นช่องทางธุรกิจนี้ผ่านโรคระบาดโควิด-19 สังคมผู้สูงอายุ และความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่สนใจการดูแลตัวเองมากขึ้น เราจึงสรุปได้ว่า Digital healthcare เป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจมากจึงมีโอกาสเติบโตในระยะยาว
Morphosis บริษัทให้คำปรึกษาด้านดิจิทัล พร้อมให้บริการสร้างแอปฯ แบบครบวงจร ตั้งแต่การทำวิจัยผู้ใช้ (UX Research) การออกแบบ UX/UI Mobile App Development และการวางกลยุทธิ์การตลาดออนไลน์ อีกทั้งเป็นผู้พัฒนาแอปฯ ChiiWii, Raksa, Pulse by Prudential, Bumrungrad Hospital App, Bangkok Hospital App และ Samitivej Virtual Hospital เพื่อต่อยอดธุรกิจ e-commerce ให้สำเร็จ