User Onboarding คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ?
“User interface ก็เหมือนกับเรื่องตลก ถ้าต้องอธิบาย ก็แปลว่ามันไม่ได้ดีขนาดนั้น”
User interface (UI) ไม่ควรจะซับซ้อน ซึ่ง interface ที่ดีจะทำให้ผู้ใช้ใหม่เข้าใจและใช้งานได้ทันที ผู้ใช้เก่าเองก็ควรเข้าใจได้หากหน้า interface หรือฟีเจอร์มีการอัปเดตโดยไม่ต้องแนะนำกันใหม่ให้วุ่นวาย
นี่คือส่วนที่ user onboarding เข้ามามีบทบาทสำคัญ เมื่อต้องแนะนำฟีเจอร์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ user onboarding จะเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกแบบและพัฒนาอยู่เสมอ
ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายความสำคัญของ user onboarding และเคล็ดลับในการแก้ไขให้ดีขึ้น ก่อนที่เราจะเข้าสู่ขั้นตอนนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า user onboarding คืออะไรกันแน่
User onboarding คืออะไร?
“อธิบาย user onboarding ง่ายๆ คือการทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ และทำให้ผู้ใช้เข้าใจว่าสิ่งที่พวกเขาคาดหวังกับสิ่งที่ผลิตภัณฑ์นั้นจะช่วยพวกเขาได้สอดคล้องกันมากแค่ไหน”
Onboarding เป็นกระบวนการสื่อวัตถุประสงค์หลักๆ ของผลิตภัณฑ์ไปยังผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถแสดงข้อดี การใช้งาน และผลที่ได้รับจากการใช้งานเพื่อดึงดูดผู้ใช้ให้อยู่ในระบบได้ยาวๆ
แม้ว่าเป้าหมายหลักของผู้ใช้งานคือการทำความเข้าใจกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์นั้นๆ แต่เป้าหมายหลักของทางบริษัทเองคือยอด engagement การสื่อสาร และการรักษาฐานผู้ใช้ ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในทั้งสองฝ่ายอาจเป็นไปได้มากขึ้นด้วย onboarding ที่ดี
ประเภทของ onboarding
มีประเภทของ onboarding อยู่หลากหลายประเภท ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของแอปฯ กลยุทธ์ในการทำธุรกิจ กลุ่มผู้ใช้งานหลัก และอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตาม onboarding ควรกระตุ้นให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ระหว่างที่กำลังทำความรู้จักกับแอปฯ
เราจะมาดูสามวิธีการที่นิยมใช้กัน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นแค่เครื่องมือทางการตลาด แต่จริงๆ แล้วมันเป็นได้มากกว่านั้นอีก
1. Onboarding ที่เน้นผลดีของการใช้งาน
ดูจากชื่อแล้วก็เดาได้ไม่ยากว่า onboarding นั้นจะแสดงให้ผู้ใช้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากแอปฯ ในช่วงที่กำลังเริ่มใช้ใหม่ๆ
วิธีการนี้อธิบายว่าโปรแกรมทำอะไรได้บ้าง โดยที่ไม่เจาะจงโดยตรงว่าผู้ใช้สามารถใช้ฟังก์ชันต่างๆ ของแอปฯ ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร หน้า onboard เหล่านี้อาจมีข้อความขออนุญาตจากผู้ใช้อย่างเช่น การแจ้งเตือนและการเข้าถึงต่างๆ
2. Onboarding ที่เน้นฟังก์ชันการใช้งาน
วิธีการนี้เน้นย้ำในด้านฟังก์ชันของอุปกรณ์นั้น ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้แอปฯ ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังสื่อสารให้ผู้ใช้ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร และทำอะไรกับมันได้บ้าง เราสามารถใช้คำแนะนำให้เห็นเป็นรูปร่างเพื่อความเข้าใจง่ายและความชัดเจนของแอปฯ
3. Onboarding ที่เน้นความคืบหน้าของการใช้งาน
วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจรายละเอียดการทำงานของแอปฯ ไปทีละส่วน ซึ่งจะเข้าใจง่ายกว่าการได้รับคำอธิบายทั้งหมดตั้งแต่ตอนแรก
จุดประสงค์หลักคือการทำให้ผู้ใช้เข้าใจฟังก์ชันต่างๆ ได้ในขณะที่เดินหน้าใช้แอปฯ ต่อไปเรื่อยๆ ผ่านโฟลว์การใช้งานที่แตกต่างกัน
ทำไม user onboarding ถึงสำคัญ?
User onboarding สำคัญเพราะเป็นการฝึกฝนผู้ใช้ให้รู้จักฟีเจอร์หลักของผลิตภัณฑ์โดยทำตามขั้นตอนง่ายๆ ทั้งนี้ยังเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่สุดของ user journey อีกด้วย
นอกจากนี้ จุดประสงค์หลักของ user onboarding คือการเพิ่มจำนวนและรักษาผู้ใช้ ซึ่งจะทำให้การตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำ user onboarding ให้ดีขึ้นจึงเป็นเคล็ดลับหนึ่งในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้นั่นเอง
ผลจากการทำ onboarding ที่ดีคือผู้ใช้จะได้รู้จักแอปฯ และฟีเจอร์หลักมากขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาผู้ใช้ได้ตรงจุด และจะทำให้โอกาสที่ผู้ใช้จะกลับมาใช้แอปฯ อีกเพิ่มสูงขึ้นได้อีกด้วย
ทว่าหากการ onboarding ของคุณผิดพลาดไปล่ะก็ อาจจะทำให้มีอุปสรรคยากๆ เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของคุณก็เป็นได้
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการทำ user onboarding และวิธีแก้
ดูแล้วสับสน – เมื่อหน้า onboarding ปรากฏขึ้นมาในที่แปลกๆ อาจทำให้ผู้ใช้งงและลืมทำสิ่งที่อยากจะทำในแอปฯ ได้
บังคับให้ผู้ใช้ทำตาม – เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ไม่มีโอกาสได้ทำอะไรในแอปฯ เลย เพราะ onboarding ใช้พื้นที่ทั้งหน้าจอ ผู้ใช้จึงทำได้แค่กดปุ่ม “ต่อไป” จนกว่าจะกลับมาใช้งานแอปฯ ได้ตามปกติ
ขาดช่วงขาดตอน – ผู้ใช้โดนเตะออกจาก onboarding กลางคัน และไม่สามารถกลับไปเริ่มใหม่หรือดูได้ว่าพลาดอะไรไปบ้าง
ตัวอย่างเหล่านี้อาจทำให้ onboarding ขาดความมีประสิทธิภาพไปเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น แทนที่จะทำให้ดูสับสน เราควรเอาใจใส่ผู้ใช้ ให้อำนาจแก่ผู้ใช้แทนที่จะบังคับพวกเขา และมีความแน่นอนมากกว่าที่จะตัดช่วงมันไปเลย
เอาใจใส่ผู้ใช้ – กระบวนการ onboarding ที่เอาใจใส่ผู้ใช้จะทำให้พวกเขาเริ่มเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจชอบ ซึ่งจะเสริมสร้างความคิดที่ดีที่ผู้ใช้มีต่อแอปฯ และเข้าถึงแอปฯ ได้มากขึ้นในกระบวนการนี้
ให้อำนาจแก่ผู้ใช้ – ควรพิจารณาว่า onboarding ของคุณกำลังสอนผู้ใช้เกี่ยวกับ UI หรือให้อำนาจผู้ใช้ในการตัดสินใจทำสิ่งที่จะให้ผลดีแก่พวกเขา ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปฯ ของคุณมาเพราะหวังว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้นในหลายๆ แง่ ฉะนั้นแล้วเราควรทำให้กระบวนการ onboarding เป็นไปตามคาดหวัง
มีความแน่นอน – ขั้นตอนการ onboarding เกิดขึ้นก่อนที่ผู้ใช้จะเริ่มใช้แอปฯ เสียอีก เมื่อต้องโน้มน้าวผู้ใช้ให้เริ่มต้นใช้งาน onboarding จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง แม้ว่าผู้ใช้จะเข้าสู่แอปฯ แล้วก็ตาม หากทำได้ไม่ถูกต้องล่ะก็ ผู้ใช้อาจจะอยู่ในแอปฯ ไม่นานก็ได้
เพราะฉะนั้น ในบางส่วนหรือฟีเจอร์ของแอปฯ ที่โดนมองข้ามแต่อาจมีความสำคัญอีกครั้งนั้นทำให้กระบวนการ onboarding ของฟีเจอร์ใหม่เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก หากลงทุนในระยะยาว ผลตอบแทนจากการ onboarding ที่ถูกต้องอาจได้รับมากกว่าหลายเท่าตัว
การระบุปัญหาในช่วง onboarding ช่วยในการกำจัดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น และนำไปสู่การมีส่วนร่วมและประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีอีกด้วย
ทำ user onboarding ให้ดีขึ้นด้วยเคล็ดลับเหล่านี้กัน
ที่ผ่านมานี้ เราได้เรียนรู้กันไปแล้วว่า user onboarding คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ต่อจากนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าจะพัฒนากระบวนการ onboarding ได้อย่างไรบ้าง
ต่อไปนี้คือวิธีที่จะทำให้ user onboarding ของคุณประสบความสำเร็จมากขึ้น ได้แก่:
รู้จักผู้ใช้
ปรับแอปฯ ไปตามบุคคล
รวดเร็วและเข้าใจง่าย
โฟกัสที่ empty states
การแจ้งเตือน
1. ทำความรู้จักและรับรู้ความต้องการของผู้ใช้งาน
User onboarding คือกระบวนการที่ทำให้ผู้ใช้ได้รู้ถึงคุณสมบัติของแอปฯ และเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักว่าผู้ใช้คือใคร ผู้ใช้แต่ละคนมีจุดประสงค์ในการใช้แอปฯ แตกต่างกันไป การกระตุ้นให้ผู้ใช้บรรลุเป้าหมายจะเป็นการรักษาผู้ใช้ในระยะยาวได้ด้วย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ คุณควรรู้สิ่งต่อไปนี้เสียก่อน
ผู้ใช้คือใคร
ผู้ใช้ต้องการอะไร
ผู้ใช้มีปัญหาในด้านไหน และแอปฯ จะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร
สิ่งที่ทำให้ผู้ใช้หยุดใช้แอปฯ ได้คืออะไร
เมื่อได้รับรู้สิ่งเหล่านี้แล้ว คุณสามารถเสริมสร้างความเอาใจใส่กลุ่มเป้าหมายได้ด้วยการทำวิจัยผู้ใช้ ขณะพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบผู้ใช้และการวิเคราะห์การใช้งานอย่างสม่ำเสมอนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้ทีมสร้างดีไซน์ที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยหาจุดที่ควรเน้นสำหรับ user onboarding อีกด้วย
ทว่าการค้นหาคำตอบในผู้ใช้แต่ละคนไม่ใช่สิ่งที่คุณจะทำได้เสมอไป ซึ่งการตั้งคำถามและสัมภาษณ์ผู้ใช้เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้พวกเขาใช้แอปฯ ของคุณจะมีส่วนเกี่ยวข้องขึ้นมา
แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยจับจุดได้ว่าผู้ใช้มีจุดประสงค์อะไร และจะช่วยในการออกแบบ onboarding ที่ดีขึ้นได้
2. ควรมีความรวบรัด อย่าให้ข้อมูลมากเกินไป
การเรียนรู้ในครั้งแรกไม่ว่าจะในเรื่องใดก็ตามไม่ใช่เรื่องง่าย ยกตัวอย่าง เช่น การขับรถ การขับรถเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากจนกว่าคุณจะคุ้นชิน ซึ่งขั้นตอนการ onboarding ก็คล้ายกัน คุณควรเลือกแสดงข้อมูลส่วนที่เหมาะสมเท่านั้น
หากเป็นไปได้ ลองทำให้หน้าจอหรือป็อปอัป onboarding มีความยาวเพียง 5 ถึง 6 หน้า และแสดงแค่ข้อความหลักในแต่ละหน้าเท่านั้น แน่นอนว่าคุณคงไม่อยากทำให้มันดูซับซ้อนและทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกำลังทำงานด้วยการคลิกซ้ำๆ และขั้นตอนการใช้งานที่ดูยุ่งยากใช่ไหมล่ะ
นอกจากนี้แล้ว หากคุณได้ข้อมูลผู้ใช้ คุณต้องถามถึงโดยทันที ใช้มันในการปรับแอปฯ ให้เข้ากับประสบการณ์ผู้ใช้ที่แตกต่างกัน แต่ต้องแน่ใจว่าขั้นตอนไม่ซับซ้อนเกินไป
3. อย่าถามลึกเกินไป
เป็นเรื่องดีที่จะกระตุ้นให้ผู้ใช้ให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการปรับตัวแอปฯ ให้เข้ากับประสบการณ์ผู้ใช้ แต่การถามจุกจิกมากไปก็ไม่ดีเหมือนกัน
บางแอปฯ ต้องการให้ผู้ใช้เลือกวิธีใช้แอปฯ ได้ตามใจชอบก่อนที่จะเริ่มใช้ ซึ่งการถามคำถามที่มากเกินจำเป็นในขั้นตอนแรกๆ ถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ เนื่องจากผู้ใช้ต้องการความเป็นส่วนตัวอยู่มากพอตัว
ตรวจสอบทุกครั้งว่ามีรายละเอียดส่วนไหนบ้างที่สามารถเก็บได้ในช่วง onboarding เพื่อพัฒนาแอปฯ ให้เข้ากับบุคลิกผู้ใช้ ทำให้ง่ายเข้าไว้ แต่ควรระวังไว้ว่าอย่าใส่คำถามสำรวจมากเกินไป คำถามแค่หนึ่งหรือสองคำถามก็เหมาะสมแล้ว ด้วยการใส่ตัวเลือกที่ง่ายต่อการคลิก
4. โฟกัสที่ empty state ของผลิตภัณฑ์
เมื่อต้องออกแบบ empty state ของผลิตภัณฑ์ มีหลายคำถามที่ควรตอบให้ได้เสียก่อน ประกอบด้วย
ผู้ใช้สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับฟีเจอร์ของ empty state ได้หรือไม่
ผู้ใช้สามารถใช้หน้าจอที่ไม่มีตัวเลขบอกวันได้อย่างไร
หน้าจอนั้นจะอยู่ใน empty state นานแค่ไหน
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหน้าจอนั้นได้อย่างไร
การออกแบบควรเน้นอยู่ที่ empty state เมื่อต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก้าวถอยหลังไปก้าวหนึ่งเสมอเพื่อมองย้อนไปที่ user onboarding ในมุมมองของผู้ใช้งานใหม่
ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังออกแบบแดชบอร์ดที่แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล ความคิดทั่วไปคือการออกแบบหน้าจอที่มีกราฟิกสวยงามและชาร์ตที่แสดงผลข้อมูลอย่างละเอียด
แน่นอนว่านี่คือสิ่งสำคัญเพราะคุณต้องรู้สถานะของผลิตภัณฑ์นั้นด้วย แต่ควรแน่ใจว่าคุณคำนึงถึง zero data state เช่นเดียวกัน
5. เขียนข้อความขอส่งการแจ้งเตือน
เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องขออนุญาตเพื่อส่งการแจ้งเตือน เนื่องจากการแจ้งเตือนและอีเมลจะเด้งขึ้นมาได้เป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร การขอส่งการแจ้งเตือนในช่วงแรกๆ เป็นสิ่งที่ดีเพราะจะใช้ช่องทางนั้นในการเข้าถึงผู้ใช้ได้ทันทีที่ใช้แอปฯ
แน่นอนว่าคุณคงไม่อยากเห็นผู้ใช้ส่วนมากออกจากแอปฯ ในระหว่างช่วงแรกๆ ของการใช้งาน ถ้าไม่ส่งการแจ้งเตือนหรืออีเมลแล้วล่ะก็ การเข้าถึงผู้ใช้ในระยะ boarding คงเป็นเรื่องยากทีเดียว
ตัวอย่างของ user onboarding ที่ดี
เราได้ดูความสำคัญ เคล็ดลับ ข้อดี และเหตุผลที่ควรลงทุนทำ onboarding ไปแล้ว คุณคงจะมีคำถามในใจว่า onboarding ที่ดีนั้นมีลักษณะอย่างไร
ต่อไปนี้คือ 4 ตัวอย่างของ user experience onboarding ที่ดี
1. Duolingo
โฟลว์การ onboard ของแอปฯ สอนภาษานี้นำทางผู้ใช้ไปสู่แบบฝึกหัดการแปลสั้นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รับรู้ได้ว่าการเรียนภาษาใหม่นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดายขนาดไหนก่อนที่จะสมัครสมาชิกในแอปฯ เสียอีก
ผู้ใช้จะเลือกภาษาที่อยากเรียนจากหน้า landing และเลือกเป้าหมายของการเรียน Duolingo ใช้ข้อมูลด้านพฤติกรรมในการนึกถึงเป้าหมายและการใช้งานแอปฯ ในระยะยาว
Onboarding ของ Duolingo นั้นมีเป้าหมายคือการให้ผู้ใช้เริ่มใช้งานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเรียนภาษาใหม่ได้ใน 10 คลิก โดยการให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงฟีเจอร์หลักในระยะแรกสุดของการใช้งานแอปฯ
2. Evernote
Evernote คือแอปฯ เขียนโน้ตที่เป็นที่นิยมสำหรับรวบรวมความคิด จัดระเบียบงาน และลิสต์ของสิ่งที่ต้องทำ เริ่มต้นแอปฯ ด้วยการให้คุณสมัครสมาชิกด้วยบัญชี Google หรือที่อยู่อีเมลที่มีอยู่แล้ว
User onboarding ของ Evernote นั้นเข้าใจง่ายและรวดเร็ว เมื่อคุณคลิกสมัครสมาชิก คุณสามารถเลือกแพลนที่ต้องการได้ ซึ่งทำให้การแบ่งปันโน้ตหรือสมุดทั้งเล่มระหว่างทีมกลายเป็นเรื่องง่าย เช่นเดียวกันกับการซิงก์ข้อมูลโดยอัตโนมัติเมื่อใช้งานในหลายๆ อุปกรณ์ และสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต
3. Slack
ในโลกธุรกิจ แพลตฟอร์มการส่งข้อความที่เรียกว่า Slack ถูกใช้งานโดยทั่วไปเพราะการสื่อสารกันระหว่างทีม ขั้นตอนการ onboarding ของแอปฯ นี้รวดเร็ว น่าสนใจ และใช้งานได้ดีในทางปฏิบัติ
ผู้ใช้ใหม่จะถูกขอให้ตั้งค่าสิ่งทั่วๆ ไปอย่างเช่น ชื่อใน Slack และติดต่อไปยังแชตบอตเพื่อเริ่มการทัวร์แอปฯ แชตบอตจะแสดงฟีเจอร์หลักๆ และขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นวิธีที่ฉลาดทีเดียวในการทำให้ผู้ใช้ได้ให้ข้อมูลในแอปฯ ตั้งแต่เริ่มต้น
4. Netflix
ด้วย onboarding แบบเฉพาะบุคคล Netflix สามารถกำจัดอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างชาญฉลาด ผู้ใช้ได้จ่ายเงินโดยทันทีเมื่อเริ่มใช้งานในหน้า landing ด้วยข้อความว่า “ดูได้ทุกที่ ยกเลิกสมาชิกได้ทุกเวลา”
ต่อจากนั้น Netflix จะขออีเมล รหัสผ่าน และข้อมูลการจ่ายเงินจากผู้ใช้ แต่ไม่ขอข้อมูลเกินความจำเป็นเพื่อไม่ให้รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
ต่อไป Netflix จะถามถึงความชอบส่วนบุคคลเพื่อแสดงคอนเทนต์ที่ผู้ใช้อยากเห็นได้โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ในช่วง onboarding นั้น มีการบอกข้อมูลสำหรับการค้นหาและดูคอนเทนต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่อาจไม่ใช่เรื่องจำเป็นสักเท่าไรนักสำหรับ Netflix ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบ UI ที่เข้าใจง่ายนั่นเอง
5. Grammarly
Grammarly เป็นผู้ช่วยส่วนตัวในด้านการเขียนที่ดี ใช้สำหรับการตรวจสอบการสะกด ไวยากรณ์ ตัวเลือกในการใช้คำ และอื่นๆ ผ่านการแนะนำบนช่องทางออนไลน์
Onboarding ของ Grammarly นั้นดีไม่แพ้กัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการใช้งานอีเมลและอัปเดต การสาธิตการใช้งานที่ชาญฉลาดกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และทำให้ผู้ใช้เห็นถึงวิธีการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย
ประสบการณ์ onboarding ที่ดีนั้นไม่เพียงแค่สอนผู้ใช้ให้ใช้แอปฯ ได้เท่านั้น แต่ยังกล่าวถึงวิธีใช้แอปฯ ให้เกิดประโยชน์อย่างง่ายดาย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงความเอาใจใส่และช่วยในการเรียนรู้ได้อีกด้วย
บทสรุป
สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแค่มีความสำคัญเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่คุณต้องทำเพื่อประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการทำ user onboarding นั้นแตกต่างกันไปตามประเภทของแอปฯ แต่จะมีวิธีการทำงานอย่างได้ผลสูงสุดอยู่เสมอ
เราหวังอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณทำความรู้จักกับ user onboarding ได้มากขึ้น รวมไปถึงเคล็ดลับดีๆ และตัวอย่างสำหรับการออกแบบ user onboarding ในภายหน้า ที่มอร์โฟซิส เราเชี่ยวชาญในด้านบริการออกแบบ UX และ UI ให้ดีที่สุดสำหรับคุณ ติดต่อเราวันนี้เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ user onboarding ในแอปฯ ของคุณได้เลย