virtual bank ในไทยจะเติบโตได้ด้วย UX ที่ดี
virtual bank ในไทยจะเติบโตได้ด้วย UX ที่ดี
กระแส virtual bank ในไทยกำลังมาแรงมากในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากตอนนี้ ธปท. ได้เปิดให้ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้ง virtual bank กันแล้ว ซึ่งจะนำร่องในช่วงแรกด้วยการออกใบอนุญาต 3 ใบ ให้กับบริษัทที่ผ่านการพิจารณา โดยในตอนนี้ก็เริ่มมีบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งที่เป็นธุรกิจ bank อย่าง SCB และ non-bank อย่าง AIS, CP, Jaymart ทยอยกันเตรียมยื่นคำขอ ซึ่งเราน่าจะได้ใช้บริการ virtual bank จริงตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป
แสดงให้เห็นว่า virtual bank ที่มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า “ธนาคารเสมือนจริง”, “ธนาคารดิจิทัล” หรือ “ธนาคารไร้สาขา” นั้นมีโอกาสทางธุรกิจที่ดีและมีอนาคตสดใสรออยู่ ทั้งยังมีต้นทุนในการเริ่มต้นที่ต่ำกว่าธนาคารแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ดูเผินๆ เหมือนจะเป็นเรื่องง่ายที่เจ้าของธุรกิจที่มีเงินทุนหนาพอจะเข้ามาร่วมวงด้วย แต่ความจริงแล้วไม่ง่ายอย่างนั้น
เนื่องจาก virtual bank ในไทยเป็นสิ่งใหม่ จึงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ กฎและข้อบังคับต่างๆ รวมถึงประสิทธิภาพในการให้บริการ เป็นต้น ซึ่งประเด็นหลังสุดนี่เองที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้
การพัฒนา digital product ให้ประสบความสำเร็จในยุคนี้นั้นมีความท้าทายสูงเพราะมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี ตลาดของ fintech ที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ใครที่สามารถสร้างความแตกต่างและครองใจผู้บริโภคได้ก่อนย่อมได้เปรียบ
ดังนั้น UX หรือประสบการณ์ในการใช้งาน จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ virtual bank ประสบความสำเร็จในการให้บริการ
ตัวอย่าง virtual bank ที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ
ด้วยเหตุที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นการนำไอเดียของธุรกิจ virtual bank จากต่างประเทศมาใช้ เรามาดูกันว่ามีแบรนด์ไหนบ้างที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ในต่างแดน
จุดเด่นของ virtual bank ที่ผู้ใช้ต้องการเห็น
เรามาตั้งต้นกันก่อนว่า อะไรคือจุดเด่นที่ทำให้ virtual bank น่าสนใจในสายตาของลูกค้า ซึ่งในที่นี้ก็คือผู้ใช้ดิจิทัลโปรดักต์ชนิดนี้นั่นเอง ได้แก่
สะดวก รวดเร็ว ใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
เพราะสามารถใช้บริการทุกอย่างได้ครบถ้วนในรูปแบบดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ไม่ต้องไปที่สาขา
เปิดบัญชีได้ง่าย
เพียงอัปโหลดเอกสารและยืนยันตัวตนผ่านมือถือเพื่อทำ KYC ง่ายกว่าการเตรียมเอกสารแล้วเดินทางไปทำที่สาขา
ขอสินเชื่อได้ง่ายและไม่ต้องรอนาน
สามารถเลือกทำรายการขอสินเชื่อและได้รับอนุมัติอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ statement
ได้รับดอกเบี้ยสูง
virtual bank มักจูงใจด้วยการให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าธนาคารรูปแบบดั้งเดิม บางแห่งให้สูงกว่าธนาคารทั่วไปถึง 10 เท่า และอาจได้รับดอกเบี้ยเป็นรายวันด้วย
ปรับแต่งได้
สามารถ personalize บริการต่างๆ ให้ตรงความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนได้ ทำให้ผู้ใช้ค้นหาบริการที่สนใจจริงๆ ได้ง่ายขึ้น
มี AI คอยช่วย
ด้วยกระแสของ AI ที่มาแรง ทำให้ธนาคารยุคใหม่หันมาให้ความสำคัญกับการนำ AI มาปรับใช้กับโปรดักต์มากขึ้น ธนาคารดิจิทัลจึงควรมี AI ในรูปแบบแชตบอต แจ้งข้อมูลที่ต้องการ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ รวมถึงขอความช่วยเหลือได้ด้วย และจะมีการนำ AI มาใช้ในรูปแบบอื่นๆ มากขึ้นด้วย เช่นการคัดกรองและเสนอแนะบริการ หรือการอนุมัติสินเชื่อ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ ก็มาจาก pain point ที่พวกเขาต้องพบเจอเมื่อใช้บริการแบบดั้งเดิมนั่นเอง พวกเขาจึงตามหาบริการทางการเงินที่สะดวก รวดเร็ว และน่าดึงดูดใจกว่าที่แล้วมา
UX สำคัญต่อบริการของ virtual bank อย่างไร
ในยุคนี้ UX เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ผู้พัฒนา digital product ต่างก็รู้ดี ซึ่ง virtual bank เองก็ไม่ต่างกัน เพราะ UX ที่ดีจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของ virtual bank เหล่านี้ในระยะยาว เนื่องจาก
การบริการมีประสิทธิภาพ
สามารถให้บริการผู้ใช้ทุกคนพร้อมๆ กันได้ทันทีจากทุกที่อย่างมีประสิทธิภาพ
รายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ช่วยให้มีรายได้เข้ามาในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้ทั่วประเทศสามารถใช้งานพร้อมกันได้อย่างราบรื่น
ลูกค้าประทับใจ
เมื่อการให้บริการมีประสิทธิภาพ ลูกค้าย่อมพึงพอใจมากขึ้นและกลับมาใช้บริการซ้ำ
เพิ่มโอกาสในการ cross-sell และ upsell
เนื่องจาก UX ที่ออกแบบมาอย่างดีจะทำให้ระบบสามารถเสนอแนะระดับแพ็กเกจในบริการนั้นที่สูงขึ้นหรือบริการที่เกี่ยวข้องได้ โดยที่ผู้ใช้มีโอกาสที่จะสนใจบริการนั้นๆ ด้วย
ธนาคารมีภาพลักษณ์ที่ดี
การเป็น virtual bank ที่ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้นๆ มีความทันสมัย โดดเด่นจากคู่แข่ง ในกรณีที่แบรนด์ของธนาคารแบบดั้งเดิมหันมาทำ virtual bank ในช่วงที่คู่แข่งในธุรกิจเดียวกันยังไม่พร้อม ยิ่งสร้างความได้เปรียบ
ข้อแนะนำในการสร้าง UX ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน virtual bank ในไทย
ปรับกลยุทธ์
นี่คือยุคของการปรับตัว คุณต้องวางกลยุทธ์ digital transformation ขององค์กรให้เหมาะสม แล้วก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลง
กล้าที่จะคิดต่าง
การที่จะทำให้ virtual bank ของคุณประสบความสำเร็จได้ แบรนด์ต้องมีความแตกต่าง มีจุดเด่นที่ชัดเจน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินที่ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้สำเร็จ
ทำเพื่อผู้ใช้อย่างแท้จริง
ออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ใช่ความต้องการของธนาคารเป็นหลัก ทำ user research เพื่อค้นคว้าว่าผู้ใช้มี pain point อะไร มี persona แบบไหน แล้วตอบโจทย์ของพวกเขาให้ตรงจุดที่สุด
ทดสอบอย่างรอบคอบ
ดิจิทัลโปรดักต์ที่ดีต้องผ่านทดสอบโปรดักต์อันเข้มงวดก่อนเปิดตัวเสมอ อย่ามองข้ามความสำคัญของการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์
รับฟังผู้ใช้
แม้ว่าจะสร้างโปรดักต์ออกมาแล้วก็ใช่ว่าหน้าที่ของคุณจะสิ้นสุดลง เพราะคุณต้องรับฟังฟีดแบ็กจากผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง และใส่ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับ UX ที่ดียิ่งขึ้น ให้พวกเขาประทับใจทุกครั้งที่แอปพลิเคชันมีการอัปเดต
ปรึกษาเราเพื่อพัฒนา virtual bank ให้ถูกใจผู้ใช้
แม้ว่าการพัฒนา virtual bank จะไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกับองค์กรที่เป็น non-bank ที่ไม่เคยให้บริการด้านการธนาคารอย่างเต็มรูปแบบมาก่อน หรือแม้แต่กับธนาคารดั้งเดิมที่ต้องการก้าวเข้ามาสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นแต่ยังขาดความเชี่ยวชาญในการพัฒนา digital product หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการออกแบบ UX/UI และ UX writing สามารถปรึกษาเราได้ เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนาดิจิทัลโปรดักต์ให้กับลูกค้าชั้นนำมาแล้วมากมาย รวมถึงลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงินเช่น SCB TechX และ ttb เป็นต้น