5 เทรนด์ที่นิยมใช้ในการวางกลยุทธ์และทำ UX Research
เผยแพร่เมื่อ 10 Nov 2022 โพสไปที่สรุปประเด็นสำคัญ:
ช่วยให้นักวิจัยสามารถรู้ได้ว่าดีไซน์แบบไหนเหมาะหรือไม่เหมาะกับผู้ใช้งานมากที่สุด
Persona จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้นด้วยการนำเสนอได้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
Usability testing เป็นเทคนิคใหม่ในการวัดผลการออกแบบอินเทอร์เฟซ โดยสังเกตจากผู้ใช้งานจริงเพื่อเปิดเผยปัญหาและแสวงหาจุดที่ต้องปรับปรุง
Card sorting จะช่วยให้นักวิจัยสามารถสรุปไอเดียคร่าวๆ ได้ว่าผู้ใช้จะจัดระเบียบโครงสร้างเนื้อหาอย่างไร
การสัมภาษณ์แบบ generative interview จะช่วยให้นักวิจัยทำงานอยู่ภายใต้สโคปได้ตลอดเวลา และสามารถรวบรวมข้อมูลที่ผู้ใช้ให้เอาไว้ได้ครบถ้วน
UX research และการวางกลยุทธ์ UX เป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจทราบถึงข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้และเข้าใจว่าการตลาดดิจิทัลมีกลไลการทำงานอย่างไรในปัจจุบัน โดยกระบวนการวิจัยจะดำเนินการในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ และทำหน้าที่ในการสร้างกลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าเป้าหมายเริ่มต้นที่ต้องทำคืออะไร เพื่อที่จะได้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ปรับปรุงสมมติฐานและแผนงานของพวกเขา
ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าสำหรับการพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้จะถูกค้นหาเพิ่มเติมตลอดกระบวนการออกแบบอย่างต่อเนื่อง เป้าหมายหลักคือการมอบข้อมูลแก่ผู้ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ดิจิทัล
1. A/B Testing

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งใดใช้ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ใช้ และอะไรคือสิ่งที่จะช่วยให้ผลลัพธ์ของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
A/B testing เป็นการทดสอบที่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยเวอร์ชัน A จะถูกทดสอบพร้อมกับเวอร์ชัน B เพื่อเปรียบเทียบว่าสิ่งใดสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานแบบดิจิทัลให้กับผู้ใช้ได้ดีที่สุด
เครื่องมือนี้เป็นกระบวนการที่ทำอย่างต่อเนื่อง โดยการนำอีกเวอร์ชันไปทดสอบจะช่วยให้ธุรกิจสามารถแยกแยะระหว่างสิ่งที่ใช้ได้ผลกับสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผล หรือการออกแบบที่ประสบความสำเร็จและมีประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
ตัวแปรทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้ใช้แค่กับทดสอบการออกแบบเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้กับการทดสอบภาษาที่ใช้ได้อีกด้วย ซึ่งความแตกต่างของคำที่ใช้ในจุดต่างๆ อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นคุณจึงต้องทดสอบตัวอย่างและแนวคิดต่างๆ เพื่อค้นหาว่าสิ่งใดมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุด รวมถึงเป็นการทำให้แน่ใจว่าการออกแบบเว็บไซต์และภาษาที่ใช้จะเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและมีโอกาสที่จะสำเร็จตามเป้าหมายได้มากที่สุด
ตัวอย่างงานเวอร์ชันต่างๆ จะถูกแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นในรูปแบบสุ่ม ด้วยวิธีนี้ นักวิจัยจึงสามารถค้นหาได้ว่าสิ่งใดทำงานได้ดีที่สุด และยังรู้ด้วยว่าควรออกแบบผลงานใหม่ในครั้งถัดไปทิศทางไหน
การทำ A/B testing ถึงกลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจและลดความเสี่ยงในระหว่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
การเพิ่มประสิทธิภาพคือหัวใจหลักที่คุณต้องให้ความสำคัญเมื่อทำการทดสอบนี้ นั่นก็เพราะการทำ A/B testing จะช่วยให้เข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้พึงพอใจและได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี ขณะที่ conversion rate ก็จะได้รับการปรับปรุงให้เป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงการดีไซน์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
2. Personas
โดยทั่วไปแล้ว web personas จะถูกนำไปใช้ในการออกแบบ UX เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ใช้กลุ่มต่างๆ โดยพวกเขาถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้นักวิจัยเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้เป้าหมาย ซึ่งจะใช้ผู้ใช้ต้นแบบเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้ที่ใหญ่ขึ้น
อย่างไรก็ตาม persona นั้นไม่ใช่ข้อมูลของใครคนใดหนึ่ง แต่เป็นการอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่จริง นั่นก็คือประวัติสั้นๆ ของบุคคลที่คาดว่าจะมาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือผู้ที่เป็นตัวแทนของผู้ชมเป้าหมาย
Persona ยังช่วยทำให้นักวิจัยมีความเข้าใจมากขึ้นว่าเรากำลังออกแบบให้ใครและคนประเภทไหนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ เมื่อนักวิจัยสามารถเข้าใจลักษณะเฉพาะของผู้ใช้เป้าหมายได้อย่างแม่นยำแล้ว ก็จะช่วยให้พวกเขาสามารถนำเสนอประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดผ่านการออกแบบ ดังนั้น persona จึงถือเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเยี่ยมซึ่งให้ข้อมูลอันมีค่าที่ระบุว่าใครคือเป้าหมายของคอนเทนต์ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ดิจิทัล
ในท้ายที่สุด แม้ว่า persona จะเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ใช้ในอุดมคติ แต่การมี persona มากเกินไปก็อาจทำให้สิ่งต่างๆ มีความซับซ้อนกว่าที่ควรเป็น เราแนะนำว่าจำนวน persona ที่เหมาะสมคืออยู่ที่ประมาณ 3-5 คน โดยเน้นถึงบุคลิกและประสบการณ์ที่ซับซ้อนของคนในกลุ่มตัวอย่าง เพราะสิ่งนี้จะสร้างความเห็นอกเห็นใจในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกไปพร้อมๆ กัน
3. Usability Testing

Usability testing หรือการทดสอบการใช้งานจะช่วยลดความเสี่ยงที่บริษัทอาจมีการสร้างอินเทอร์เฟซที่ไม่ถูกต้อง
การทดสอบนี้ทำขึ้นเพื่อตรวจสอบการใช้งานอินเทอร์เฟซและดูว่ามันทำงานจริงเป็นอย่างไร โดยในระหว่างการทดสอบเบื้องต้น ผู้ดำเนินการทดสอบจะขอให้ผู้เข้าร่วมทำภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เฟซแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกรวมทั้งช่วยให้ผู้ดำเนินการทดสอบสามารถประเมินความคืบหน้าโดยรวมของอินเทอร์เฟซเพื่อดูว่าพวกเขามาพัฒนาผลิตภัณฑ์มาถูกทางหรือไม่
เทคนิคการประเมินเชิงคุณภาพนี้คำนึงถึงการกระทำของผู้ใช้แทนที่จะเป็นสิ่งที่พวกเขาได้พูดออกมาจริงๆ ด้วยการสังเกตการกระทำของพวกเขาจะช่วยให้ผู้ดำเนินการทดสอบเห็นว่าผู้ใช้จัดการกับอินเทอร์เฟซอย่างไรหรือทำงานตามที่มอบหมายไว้ได้หรือไม่
จริงอยู่ที่ยังมีอีกหลายวิธีในการออกแบบอินเทอร์เฟซ แต่วิธีเดียวที่จะรับประกันได้ว่าการออกแบบที่ใช้จะดำเนินไปอย่างราบรื่นก็คือการทำ usability testing นั่นเอง
ในการพิจารณาว่าผู้ใช้มีความรู้สึกและเข้าใจถึงการใช้งานอินเทอร์เฟซอย่างไรนั้น จะต้องแสดงรายการสิ่งที่ค้นพบทั้งในด้านบวกและด้านลบ ด้วยการนำเสนอโซลูชันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยประหยัดทั้งเวลาและเงินที่ใช้ในการพัฒนา ยิ่งระบุปัญหาได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งสามารถเริ่มค้นพบแนวทางในการปรับปรุงได้เร็วเท่านั้น
4. Card Sorting
Card sorting หรือ การเรียงลำดับบัตร เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ที่จะทำการจัดเรียงหัวข้อต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ วิธีนี้ช่วยให้เราได้รับรู้แนวคิดโดยสรุปเบื้องต้น เกี่ยวกับวิธีการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เวิร์กโฟลว์ โครงสร้างเมนู เส้นทางการนำทาง และอื่นๆ โดยเทคนิคนี้ช่วยให้นักออกแบบเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นว่าผู้ใช้จะจัดโครงสร้างเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอย่างไร ซึ่งนั่นทำให้ความคาดหวังของพวกเขาที่มีต่อการจัดกลุ่มเนื้อหาในเว็บไซต์จะเป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์เวอร์ชันจริงของเราอย่างมาก
เทรนด์และหมวดหมู่ที่เป็นไปได้สามารถระบุและทำหน้าที่เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ดีสำหรับนักออกแบบ ด้วยการทำ UX research นี้ช่วยให้เราสามารถสำรวจได้ว่าโดเมนของผู้ใช้มีโครงสร้างเป็นอย่างไรรวมถึงมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ เมื่อข้อมูลถูกรวบรวมเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถออกแบบโครงสร้าง หมวดหมู่ป้ายกำกับ และการนำทาง โดยอ้างอิงจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
Card sorting เป็นวิธีการที่ประหยัดเงินและสามารถทำได้ง่ายตลอดทั้งกระบวนการ แถมยังสามารถรวบรวมผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วพร้อมด้วยข้อมูลที่อัดแน่นว่าแต่ละสิ่งควรอยู่ที่ตรงไหน วิธีนี้เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการข้อมูลจากผู้ใช้จำนวนมากเพื่อช่วยผลักดันให้เกิด conversion เพิ่มขึ้นมากในอนาคต
5. Generative Interviews

วัตถุประสงค์หลักของ generative interview หรือการสัมภาษณ์เพื่อหาไอเดียที่เป็นไปได้ คือการค้นหาแนวทางแก้ไขสำหรับปัญหาที่มีอยู่ควบคู่ไปกับการแสวงหาโอกาสสำหรับนวัตกรรมใหม่ในอนาคต ซึ่งช่วยให้นักวิจัยสามารถรวบรวมข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้เป้าหมาย และนำมาใช้ในภายหลังเพื่ออ้างอิงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุง
Generative interview มักใช้เพื่ออธิบายถึงความเข้าใจของผู้ทำวิจัยว่าปัญหาของเรื่องนั้นคืออะไร และมักดำเนินการในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะแรก ซึ่งการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะช่วยให้พวกเขาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้จะสามารถใช้งานได้จริงอย่างง่ายดาย
โดยรูปแบบของการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากในระหว่างกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพราะข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการสัมภาษณ์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในระยะยาว
เข้าใจ UX research และการวางกลยุทธ์ UX ให้มากขึ้นตั้งแต่ตอนนี้
โดยสรุปแล้ว UX research และการวางกลยุทธ์ UX ที่มีประสิทธิภาพนั้นมีความสำคัญต่อความเข้าใจในงานหลักที่ต้องทำ เป้าหมายของธุรกิจ และรู้ถึงความคาดหวังของผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยสามารถสังเกตสิ่งต่างๆ ผ่านมุมมองเดียวกับผู้ใช้ ช่วยให้ธุรกิจตอบสนองได้ตามกลยุทธ์หลังจากที่ได้วิเคราะห์คำติชมและผลลัพธ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์ดิจิทัลล่าสุดในปี 2020 สามารถดาวน์โหลดคู่มือ digital transformation ของเราได้ที่นี่